Page 316 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 316

315




                     เรื่องที่ 1   กลุ่มดาวจักรราศี

                     ความหมายของ ดาวฤกษ์

                            ดาวฤกษ์ (Star)   หมายถึง   ดาวซึ่งมีแสงสว่างในตัวเอง ผลิตพลังงานได้เองโดยการเปลี่ยนมวล
                                                                                        2
                     สารส่วนหนึ่ง (m) ณ แกนกลางของดาวให้เป็นพลังงาน (E) ตามสมการ E = mc  ของไอน์สไตน์ เมื่อ c
                     เป็นอัตรเร็วของ แสงซึ่งสูงเกือบ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที การเปลี่ยนมวลเป็นพลังงานของดาวฤกษ์

                     เกิดขึ้นภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากเป็น 15  ล้านเคลวิน ในการหลอมไฮโดรเจนเป็นฮีเลี่ยม จึงเรียกว่า

                     ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ดาวที่ผลิตพลังงานเช่นนี้ได้ต้องมีมวลมากมหาศาล ดาวฤกษ์จึงมีมวลสารมาก
                     เช่นดวงอาทิตย์ที่มีมวลประมาณ 2,000 ล้านล้านล้านล้านตัน ซึ่งคิดเป็นมวลกว่า 98% ของมวลของวัตถุใน

                     ระบบสุริยะ   ดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ อยู่ไกลมาก แม้จะส่องมองด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ก็มองเห็น

                     เป็นเพียงจุดแสง  ดาวฤกษ์เพื่อนบ้านของเรามีชื่อว่า “แอลฟา เซนทอรี” (Alpha Centauri) เป็นระบบดาว
                     ฤกษ์สามดวง โคจรรอบกันและกัน อยู่ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า      ดวงที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุดชื่อ

                     “พร๊อกซิมา เซนทอรี” (Proxima Centauri) อยู่ห่างออกไป 40 ล้านล้านกิโลเมตร หรือ  4.2 ปีแสง (1 ปี

                     แสง = ระยะทางซึ่งแสงใช้เวลาเดินทางนาน 1 ปี หรือ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร)   ดาวฤกษ์บางดวงมีดาว
                     เคราะห์โคจรล้อมรอบ เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ของเรา   เราเรียกระบบสุริยะเช่นนี้ว่า  “ระบบสุริยะอื่น”

                     (Extra solar system)

                     ความสัมพันธ์ระหว่างโลก และดวงอาทิตย์

                            ดวงอาทิตย์ (The Sun) เป็นดาวฤกษ์ใกล้โลกที่สุดอยู่ตรงกลางระบบสุริยะ มีดาวเคราะห์เป็น
                     บริวารโคจรล้อมรอบ อุณหภูมิที่แกนกลางของดวงอาทิตย์สูงถึง 15 ล้านเควิน สูงพอที่นิวเคลียสของ

                     ไฮโดรเจน 4 นิวเคลียสจะหลอมรวมกันเป็นนิวเคลียสฮีเลียม 1 นิวเคลียส  อุณหภูมิพื้นผิวลดลงเป็น

                     5,800 เคลวิน ดวงอาทิตย์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร (ประมาณ 109 เท่าของโลก)

                            โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะและโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี  โดยมีระยะทาง
                     เฉลี่ยห่างจากดวงอาทิตย์  149,597,870  กิโลเมตร  และใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์  1  ปี  เมื่อ

                     สังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางด้านทิศตะวันออกและตกทางด้านทิศตะวันตกทุกวัน ทั้งนี้

                     เนื่องจากโลกมีการหมุนรอบตัวเองรอบละ 1 วัน  อย่างไรก็ตามหากติดตามเฝ้าสังเกตการขึ้น – ตก ของ
                     ดวงอาทิตย์เป็นประจ าจะพบว่า  ในรอบ  1  ปี  ดวงอาทิตย์จะปรากฏขึ้น ณ จุดทิศตะวันออก  และตก ณ

                     จุดทิศตะวันตกพอดี  เพียง  2  วันเท่านั้น  คือวันที่  21  มีนาคม  และวันที่  23  กันยายน  ส่วนวันอื่นๆ

                     การขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์จะเฉียงค่อนไปทางทิศเหนือหรือทางทิศใต้บ้าง  โดยในวันที่  21  มิถุนายน
                     ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกค่อนไปทางทิศเหนือมากที่สุดและตกทางทิศตะวันตกค่อนไปทาง

                     ทิศเหนือมากที่สุด  และในวันที่  22    ธันวาคม  ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกค่อนไปทางทิศใต้

                     มากที่สุดและตกทางทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศใต้มากที่สุด ดังแสดงในภาพที่  1
   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321