Page 321 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 321
320
จากข้อมูลในตารางที่ 1-1 จึงเขียนแบบจ าลองทรงกลมท้องฟ้ า พร้อมก าหนดทิศเหนือ – ใต้
ตะวันออก – ตะวันตก แล้วเขียนทางเดินของดวงอาทิตย์ จากค่ามุมอาซิมุท ขณะขึ้น – ตกและมุมเงย
สูงสุดของดวงอาทิตย์ในแต่ละวัน
เหนือศีรษะ
ตะวันตก
มุมเงย
ใต้ เหนือ
ตะวันออก มุมทิศ
ใต้เท้า
ภาพที่ 5 แบบจ าลองทรงกลมท้องฟ้าที่มีเส้นขอบฟ้าเป็นเส้นแบ่งครึ่งทรงกลม บอกต าแหน่งดาว
เทียบกับขอบฟ้าเป็น มุมทิศ,มุมเงย
กลุ่มดาวและฤดูกาล
มนุษย์ในยุคโบราณสามารถสังเกตต าแหน่งการขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์และการปรากฏของ
กลุ่มดาว สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ท าให้มนุษย์สามารถด ารงชีวิตอยู่ได้เป็นปกติสุข
โดยการสังเกตดวงอาทิตย์และกลุ่มดาวที่ปรากฏบนท้องฟ้ าหลังดวงอาทิตย์ตก มนุษย์สามารถรู้ว่า
เมื่อใดควรเริ่มเพาะปลูก เมื่อใดควรเริ่มเก็บเกี่ยว เมื่อใดควรสะสมอาหารแห้งเตรียมไว้เพื่อบริโภคใน
ฤดูหนาว มนุษย์เริ่มรู้จักใช้วัตถุท้องฟ้ าเป็นสิ่งก าหนดเวลาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมนุษย์เริ่มเปลี่ยน
สภาพการด ารงชีวิตแบบป่าเถื่อนมาอยู่ในระดับที่เจริญขึ้น ซึ่งการด ารงชีวิตเน้นทางด้านกสิกรรมหรือ
เกษตรกรรม มนุษย์ยิ่งต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นจังหวะของธรรมชาติ
เหล่านั้นมากขึ้น