Page 325 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 325

324




                                                           จินตนาการจากพื้นโลก

                                                             ในความเป็นจริง เราไม่สามารถมองเห็นทรงกลมท้องฟ้าได้
                                                              ทั้งหมด  เนื่องจากเราอยู่บนพื้นผิวโลก จึงมองเห็นทรงกลม

                                                              ท้องฟ้าได้เพียงครึ่งเดียว และเรียกแนวที่ท้องฟ้าสัมผัสกับพื้น

                                                              โลกรอบตัวเราว่า “เส้นขอบฟ้า” (Horizon)  ซึ่งเป็นเสมือน
                                                              เส้นรอบวงบนพื้นราบ ที่มีตัวเราเป็นจุดศูนย์กลาง

                                                             หากลากเส้นโยงจากทิศเหนือมายังทิศใต้ โดยผ่านจุดเหนือ

                       ภาพที่ 9 เส้นสมมติบนทรงกลมท้องฟ้า      ศีรษะ จะได้เส้นสมมติซึ่งเรียกว่า “เส้นเมริเดียน”  (Meridian)

                                                             หากลากเส้นเชื่อมทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก โดยให้ระนาบ

                                                              ของเส้นสมมตินั้นตั้งฉากกับแกนหมุนของโลกตลอดเวลา จะ
                                                              ได้ “เส้นศูนย์สูตรฟ้า”  ซึ่งแบ่งท้องฟ้าออกเป็นซีกฟ้าเหนือ

                                                              และซีกฟ้าใต้  หากท าการสังเกตการณ์จากประเทศไทย ซึ่งอยู่

                                                              บนซีกโลกเหนือ จะมองเห็นซีกฟ้าเหนือมีอาณาบริเวณ
                                                              มากกว่าซีกฟ้าใต้เสมอ

                     การเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้ า

                            เมื่อมองจากพื้นโลกเราจะเห็นทรงกลมท้องฟ้าเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก
                     อย่างไรก็ตามเนื่องจากโลกของเราเป็นทรงกลม ดังนั้นมุมมองของการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า

                     ย่อมขึ้นอยู่กับต าแหน่งละติจูด (เส้นรุ้ง) ของผู้สังเกตการณ์  เป็นต้นว่า

                          ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่บนเส้นศูนย์สูตร  หรือละติจูด  0°        ขั้วฟ้าเหนือก็จะอยู่ที่ขอบฟ้าด้านทิศ

                            เหนือพอดี  (ภาพที่ 10)

                          ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจูดสูงขึ้นไป เช่น ละติจูด 13°    ขั้วฟ้าเหนือก็จะอยู่สูงจากขอบฟ้าทิศ
                            เหนือ 13° (ภาพที่ 11)

                          ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ  หรือละติจูด  90°      ขั้วฟ้าเหนือก็จะอยู่สูงจากขอบฟ้า  90°

                            (ภาพที่ 12)
                        เราสามารถสรุปได้ว่า ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจูดเท่าใด  ขั้วฟ้าเหนือก็จะอยู่สูงจากขอบฟ้ าเท่ากับ

                     ละติจูดนั้น
   320   321   322   323   324   325   326   327   328   329   330