Page 82 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 82

81




                     เมื่อละอองเรณูแก่เต็มท ํีํ่อับเรณูจะแตกออกท าให้ละอองเรณูกระจายออกไปพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไป
                     ได้

                             การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ ภายในรังไข่อาจมีหนึ่งออวุล

                     (ovule) หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีหลายเซลล์ แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์

                     มาเทอร์เซลล์ (megaspore mother cell) มีจ านวนโครโมโซม 2n ต่อมาจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้
                     4 เซลล์ สลายไป 3 เซลล์ เหลือ 1 เซลล์ เรียกว่า เมกะสปอร์ (megaspore) หลังจากนั้นนิวเคลียสของเม

                     กะสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส 3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส และมีไซโทพลาซึมล้อมรอบ เป็น 7 เซลล์   3

                     เซลล์ อยู่ตรงข้ามกับไมโครไพล์  (micropyle)  เรียกว่า แอนติแดล (antipodals)  ตรงกลาง 1 เซลล์มี 2

                     นิวเคลียสเรียก เซลล์โพลาร์นิวคลีไอ (polar nuclei cell)  ด้านไมโครไพล์มี 3 เซลล์ ตรงกลางเป็นเซลล์

                     ไข่    (egg cell) และ2 ข้างเรียก ซินเนอร์จิดส์ (synergids) ในระยะนี้ 1 เมกะสปอร์ได้พัฒนามาเป็นแกมี
                     โทไฟต์ที่เรียกว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) หรือแกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte)


                      การถ่ายละอองเรณู

                             พืชดอกแต่ละชนิดมีละอองเรณูและรังไข่ที่มีรูปร่างลักษณะ และจ านวนที่แตกต่างกัน

                     เมื่ออับเรณูแก่เต็มที่ผนังของอับเรณูจะแตกออกละอองเรณูจะกระจายออกไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย
                     โดยอาศัยสื่อต่างๆพาไป เช่น ลม น ้า แมลง สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูตกลง

                     สู่ยอดเกสรตัวเมีย เรียกว่า การถ่ายละอองเรณู (pollination)


                             พืชบางชนิดที่เป็นพืชเศรษฐกิจ หรือพืชที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร ถ้าปล่อยให้เกิดการถ่ายละออง

                     เรณูตามธรรมชาติ ผลผลิตที่ได้จะไม่มากนัก เช่น ทุเรียนพันธุ์ชะนีจะติดผลเพียงร้อยละ 3 ส่วนพันธุ์

                     ก้านยาวติดผลร้อยละ 10 พืชบางชนิด เช่น สละ เกสรเพศผู้มีน้อยมาก จึงท าให้การถ่ายละอองเรณูเกิดได้
                     น้อย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลให้การถ่ายละอองเรณูได้น้อย เช่น จ านวนของแมลง

                     ที่มาผสมเกสร ระยะเวลาของการเจริญเติบโตเต็มที่ของเกสรเพศเมีย และเกสรเพศผู้ไม่พร้อมกัน

                     ปัจจุบันมนุษย์จึงเข้าไปช่วยท าให้เกิดการถ่ายละอองเรณูได้มากขึ้น เช่น เลี้ยงผึ้งเพื่อช่วยผสมเกสร ศึกษา

                     การเจริญของละอองเรณู และออวุล แล้วน าความรู้มาช่วยผสมเกสร เช่น ในทุเรียนการเจริญเติบโตของ
                     อับเรณูจะเจริญเต็มที่ในเวลา 19.00 – 19.30 น. ชาวสวนก็จะตัดอับเรณูที่แตกเก็บไว้ และเมื่อเวลาที่เกสร

                     เพศเมียเจริญเต็มที่ คือ ประมาณเวลา 19.30 น. เป็นต้นไป ก็จะน าพู่กันมาแตะละอองเรณูที่ตัดไว้วางบน

                     ยอดเกสรเพศเมีย หรือเมื่อตัดอับเรณูแล้วก็ใส่ถุงพลาสติก แล้วไปครอบที่เกสรเพศเมีย เมื่อเกสรเพศเมีย
                     เจริญเต็มที่แล้วการถ่ายละอองเรณูจะเกิดได้ดี และในผลไม้อื่น เช่น สละก็ใช้วิธีการเดียวกันนี้
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87