Page 108 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 108
99
วัด โบสถ์ และมัสยิด
1.วัด
วัดเป็นศานสถานที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ และเป็นส่วนประกอบส าคัญของ
ท้องถิ่น และเป็นศูนย์กลางในการท ากิจกรรมการศึกษาที่หลากหลายของชุมชนในท้องถิ่น วัดในประเทศ
ไทยสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
ก. พระอารามหลวง หมายถึง วัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างหรือบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ หรือ
เป็นวัดที่เจ้านายหรือขุนนางสร้างแล้วถวายเป็นวัดหลวงพระอารามหลวง แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ พระ
อารามหลวงชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี
ข. พระอารามราษฎร์ เป็นวัดที่ผู้สร้างไม่ได้ยกถวายเป็นวัดหลวง ซึ่งมีจ านวนมาก กระจายอยู่
ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วไป
อนึ่ง นอกเหนือจากการแบ่งวัดออกเป็น 2 ประเภทแล้ว ยังมีวัดประจ ารัชกาลซึ่งตามโบราณราช
ประเพณี จะต้องมีการแต่งตั้งวัดประจ ารัชกาลของพระเจ้าแผ่นดินแต่ละพระองค์
ความส าคัญของวัด วัดมีความส าคัญนานัปการต่อสังคม เป็นแหล่งความรู้ของคนในชุมชน ที่มีค่า
มากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการอบรมสั่งสอนโดยตรงแก่ประชาชนทั่วไป และการอบรมสั่งสอน
โดยเฉพาะแก่กุลบุตรเพื่อให้เตรียมตัวออกไปเป็นผู้น าครอบครัวและท้องถิ่นที่ดีในอนาคตหรือการให้
การศึกษาในด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้บริการต่าง ๆ ที่วัด
ให้แก่คนในท้องถิ่นในรูปของกิจกรรมทางศาสนาต่าง ๆ นั้น นับเป็นการให้การศึกษาทางอ้อม ประชาชน
สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากการสังเกตพูดคุย ปรึกษาหารือ หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่วัดจัด
ให้บริการ ในส่วนที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจนั้น เมื่อประชาชนเข้าไปในวัด เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ก็จะ
เกิดการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไปด้วยในตัว เช่น เรียนรู้วิธีปฏิบัติให้จิตใจผ่องใส สงบเยือกเย็น ตามหลักธรรมค าสั่ง
สอนของพุทธศาสนา ซึ่งพระจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และวิธีปฏิบัติให้ นอกจากนี้หากวัดบางวัดยังจัดบริเวณ
สถานที่ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น ปลูกต้นไม้นานาพรรณ และเขียนชื่อต้นไม้ติดไว้ ผู้ที่เข้าวัดก็มี
โอกาสจะศึกษาหาความรู้ในเรื่องชนิดของพรรณไม้เหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง
วัดกับการจัดกิจกรรมการศึกษา กิจกรรมการศึกษาที่พบในวัด ได้แก่
ก. ศึกษาและฝึกอบรมศีลธรรม สั่งสอนวิชาการต่าง ๆ ทั้งโดยตรง คือแก่ผู้มาบวชตาม ประเพณี
และแก่เด็กที่มาอยู่วัด และโดยอ้อมคือแก่ผู้มาท ากิจกรรมต่าง ๆ ในวัด หรือมาร่วมกิจกรรมในวัด ทั้งวิชา
หนังสือและวิชาช่างต่าง ๆ
ข. ก่อก าเนิดและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สืบทอดวัฒนธรรม รวบรวมศิลปกรรมเสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์
ค. สงเคราะห์ช่วยให้บุตรหลานชาวบ้านที่ยากจนได้มาอาศัยเลี้ยงชีพพร้อมไปกับได้ศึกษาเล่าเรียน
รับเลี้ยงและฝึกอบรมเด็กที่มีปัญหา เด็กอนาถา ตลอดจนผู้ใหญ่ซึ่งไร้ที่พักพิง