Page 72 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 72
63
ประเภทของแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้มีการแบ่งแยกตามลักษณะได้ 6 ประเภท ดังนี้
1. แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล ได้แก่ บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถด้านต่าง ๆ ที่สามารถ
ถ่ายทอดความรู้ด้วยรูปแบบวิธีต่าง ๆ ที่ตนมีอยู่ให้ผู้สนใจหรือผู้ต้องการเรียนรู้ เช่น ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา
การต่าง ๆ ผู้อาวุโสที่มีประสบการณ์มามาก หรืออาจจะเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นทางการ มีบทบาท
สถานะทางสังคม หรืออาจเป็นบุคคลที่เป็นโดยการงานอาชีพ หรือบุคคลที่เป็นโดยความสามารถเฉพาะตัว
หรือบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นภูมิปัญญา
2. แหล่งเรียนรู้ประเภทธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และให้ประโยชน์ต่อ
มนุษย์ เช่น ดิน น ้า อากาศ พืช สัตว์ ต้นไม้ แร่ธาตุ ทรัพยากรธรรมชาติ เหล่านี้อาจถูกจัดให้เป็นอุทยาน
วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สวนพฤกษศาสตร์ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ เป็นต้น
3. แหล่งเรียนรู้ประเภทวัสดุและสถานที่ ได้แก่ อาคาร สิ่งก่อสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่าง ๆ ที่
ประชาชนสามารถศึกษาหาความรู้ให้ได้มาซึ่งค าตอบ หรือสิ่งที่ต้องการจากการเห็น ได้ยิน สัมผัส เช่น
ห้องสมุด ศาสนสถาน ศูนย์การเรียน พิพิธภัณฑ์ สถานประกอบการ ตลาด นิทรรศการ สถานที่ทาง
ประวัติศาสตร์ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
4. แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อ ได้แก่ สิ่งที่ท าหน้าที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหา ความรู้
สารสนเทศ ให้ถึงกันโดยผ่านประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ แหล่งเรียนรู้ ประเภทนี้
ท าให้กระบวนการเรียนรู้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง ทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ
โสตทัศน์
5. แหล่งเรียนรู้ประเภทเทคนิค สิ่งประดิษฐ์คิดค้น ได้แก่ สิ่งที่แสดงถึงความก้าวหน้าทาง
นวัตกรรม เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นหรือพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาให้มนุษย์ได้ เรียนรู้ถึง
ความก้าวหน้า เกิดจินตนาการ แรงบันดาลใจ
6. แหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรม ได้แก่ การปฏิบัติการด้านประเพณีวัฒนธรรม ตลอดจน การ
ปฏิบัติการความเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหา และปรับปรุงพัฒนาสภาพต่าง ๆ ในท้องถิ่น การที่มนุษย์เข้าไปมี
ส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การรณรงค์ป้ องกันยาเสพติด การส่งเสริมการเลือกตั้ง ตามระบบ
ประชาธิปไตย การรณรงค์ความปลอดภัยของเด็กและสตรีในท้องถิ่น
เรื่องที่ 2 : แหล่งเรียนรู้ประเภทห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ส าคัญประเภทหนึ่ง ที่จัดหา รวบรวมสรรพวิชาการต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้น
จากทั่วโลกมาจัดระบบ และให้บริการแก่กลุ่มเป้ าหมายศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ปัจจุบันมีค าอื่น ๆ ที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ในความหมายของค าว่า ห้องสมุด เช่น ห้องสมุด และศูนย์
สารสนเทศ ส านักบรรณาสารการพัฒนา ส านักบรรณสารสนเทศ ส านักหอสมุด ส านักวิทยบริการ เป็นต้น
ห้องสมุดโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้