Page 78 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 78
69
เรื่องที่ 3 : ทักษะการเข้าถึงสารเทศของห้องสมุดประชาชน
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ช่วยลดขั้นตอนการหาข้อมูลของห้องสมุดประชาชน ผู้เรียน
สามารถค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ตว่ามีห้องสมุดประชาชนที่ใดบ้าง สถานที่ตั้ง เวลาเปิด - ปิด หมายเลข
โทรศัพท์ กิจกรรมที่ให้บริการ ช่วยให้ผู้ใช้สะดวกและสามารถเข้าถึงห้องสมุดได้ง่าย
ห้องสมุดทุกประเภททุกชนิดจะมีการจัดระบบหมวดหมู่ของสารสนเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ส าคัญ
เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิ่งที่ต้องการสนใจได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และสะดวกในการบริหารจัดการห้องสมุด
เพื่อการบริการกลุ่มเป้ าหมายในระยะยาว
ระบบหมวดหมู่ที่ห้องสมุดน ามาใช้จะเป็นระบบสากลที่ทั่วโลกใช้ และเหมาะกับกลุ่มเป้ าหมาย
เข้าถึงได้ง่าย ระบบที่นิยมใช้ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ มี 2 ระบบ ได้แก่ ระบบทศนิยม ของดิวอี้ ซึ่งใช้
ตัวเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์ แทนหมวดหมู่สารสนเทศ นิยมใช้ในห้องสมุดประชาชน กับอีกระบบหนึ่ง
ได้แก่ ระบบรัฐสภาอเมริกัน ใช้อักษรโรมัน (A - Z) เป็นสัญลักษณ์ นิยมใช้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งความรู้ในโลกออกเป็นหมวดหมู่จากหมวดใหญ่ไปหาหมวดย่อย จาก
หมวดย่อยแบ่งเป็นหมู่ย่อย และหมู่ย่อยๆ โดยใช้เลขอารบิก 0 - 9 เป็นสัญลักษณ์ ดังนี้
000 สารวิทยาความรู้เบ็ดเตล็ดทั่วไป
100 ปรัชญาและวิชาที่เกี่ยวข้อง
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์
400 ภาษาศาสตร์
500 วิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์)
600 เทคโนโลยี (วิทยาศาสตร์ประยุกต์)
700 ศิลปกรรมและการบันเทิง
800 วรรณคดี
900 ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
ระบบรัฐสภาอเมริกา (Library of Congress Classification)
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งปรับปรุง และ
พัฒนาโดย เฮอร์เบิร์ด พัทนัม (Herbirt Putnum) เมื่อปี พ.ศ. 2445
ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันแบ่งหมวดหมู่วิชาออกเป็น 20 หมวด ใช้อักษรโรมันตัวใหญ่
A - Z ยกเว้นตัวอักษร I, O, W, X, Y เพื่อส าหรับการขยายหมวดหมู่วิชาการใหม่ ๆ ในอนาคต
ตารางการแบ่งหมวดหมู่หนังสือระบบหอสมุดอเมริกัน แบ่งหมวดหมู่วิชาการเป็น 20 หมวดใหญ่
ดังนี้