Page 81 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 81

72


               เรื่องที่ 4 : การใช้แหล่งเรียนรู้ส าคัญๆ ภายในประเทศ

                        ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”

                        ในโอกาสมิ่งมงคลสมัยที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ
               36  พรรษา  เมื่อปีพุทธศักราช  2534  กระทรวงศึกษาธิการได้รับพระราชทานพระราชานุญาต  ให้ด าเนิน

               โครงการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน  “เฉลิมราชกุมารี”  เพื่อเฉลิมพระเกียรติ  และเพื่อสนอง  แนวทาง

               พระราชด าริในการส่งเสริมการศึกษาส าหรับประชาชนที่ได้ทรงแสดงในโอกาสต่าง ๆ เช่น

                        ในโอกาสที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จเป็นองค์ประธานในการประชุมสมัชชาสากล  ว่าด้วย
               การศึกษาผู้ใหญ่ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2533 ได้ทรงพระราชทานลายพระหัตถ์เชิญชวนให้

                        “ร่วมกันท าให้ชาวโลกอ่านออกเขียนได้”

                        และในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “ห้องสมุดในทัศนะของข้าพเจ้า” ได้ทรงกล่าวว่า

                        “...ความรู้ของมนุษย์เป็นมรดกที่ตกทอดกันมาแต่โบราณ  เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอักษรขึ้น  ผู้มี
               ความรู้ก็ได้บันทึกความรู้ของตน  สิ่งที่ตนค้นพบเป็นการจารึก  หรือเป็นหนังสือท าให้บุคคลอื่นในสมัย

               เดียวกัน หรืออนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาทราบถึงเรื่องนั้น ๆ และได้ใช้ความรู้เก่า ๆ เป็นพื้นฐาน ที่จะหา

               ประสบการณ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นความก้าวหน้าเป็นความเจริญสืบต่อไป...
                        ห้องสมุดเป็นสถานที่เก็บเอกสารต่าง  ๆ  อันเป็นแหล่งความรู้ดังกล่าว  แล้วจึงเรียกได้ว่า  เป็นครู

               เป็นผู้ชี้น าให้เรามีปัญญาวิเคราะห์วิจารณ์ให้รู้สิ่งควรรู้อันชอบด้วยเหตุผลได้

                        ข้าพเจ้าอยากให้เรามีห้องสมุดที่ดี มีหนังสือครบทุกประเภทส าหรับประชาชน...”
                        ด้วยความจงรักภักดีและความมุ่งมั่นศรัทธาที่จะร่วมสนองแนวทางพระราชด าริในการส่งเสริม

               โอกาสทางการศึกษา  ภายในปี  2533  และ  2534  ได้มีประชาชนในแต่ละพื้นที่  หน่วยงาน  ภาครัฐและ

               ภาคเอกชนให้ความสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จ านวน 59
               แห่ง ในพื้นที่ 47 จังหวัด เกินเป้ าหมายที่ก าหนดไว้เดิม 37 แห่ง และนับเนื่องจากนั้น ยังมีข้อเสนอจากจังหวัด

               ต่างๆ ขอเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมจวบจนปัจจุบันมีห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จ านวน 82 แห่ง

               (ข้อมูลจากสถาบันพัฒนาวัตกรรมการเรียนรู้ ส านักงาน กศน. พฤศจิกายน 2553)


                        บทบาทหน้าที่

                        1.  ศูนย์ข่าวสารข้อมูลของชุมชน หมายถึง การจัดห้องสมุดให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ค้นคว้า

               วิจัย โดยมีการจัดบริการหนังสือ เอกสารสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ ตลอดจนการจัดท าท าเนียบ และการแนะแนว
               แหล่งความรู้อื่นๆ ที่ผู้ใช้บริการสามารถไปศึกษาเพิ่มเติม

                        2.  ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน  หมายถึง  การเป็นแหล่งส่งเสริม  สนับสนุน  และจัด

               กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยห้องสมุดอาจด าเนินการเอง หรือประสานงานอ านวยความสะดวก ให้
               ชุมชน หรือหน่วยงานภายนอกมาจัดด าเนินการ
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86