Page 18 - 400ปีกล้องโทรทรรศน์
P. 18
นักวิชาการในสมัยนั้นทราบดีว่าการรวมเลนส์และกระจก จะมีก�าลังขยายที่เพิ่มมากขึ้น โดย
การศึกษาทฤษฎีทางแสงอย่างละเอียดมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่มีความโดดเด่นคือหนังสือ Dioptrique
ของ เรอเน เดสการ์เตส (Rene Descartes) ผนวกเข้ากับการอภิปรายเหตุผลของ เดการ์ต นี้คือ
การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของการคลาดทรงกลมและท�าให้ภาพที่ได้ชัดเจนมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 1663 (พ.ศ. 2206) นักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตชื่อ เจมส์ เกรกอรี (James Gregory)
ได้น�าเสนอการออกแบบกระจกแบบใหม่ส�าหรับกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อน ในหนังสือ Optica
Promota ของเขา ทฤษฎีการออกแบบกระจกปฐมภูมิที่มีความโดดเด่นของเกรกอรี คือ ส่วนโค้ง
ของกระจกที่เป็นรูปพาราโบลา โดยกระจกปฐมภูมิจะสะท้อนแสงไปยังกระจกทุติยภูมิรูปวงรี ซึ่ง
ท�าหน้าที่สะท้อนแสงกลับลงมาผ่านรูที่อยู่ตรงกลางของกระจกปฐมภูมิไปยังเลนส์ใกล้ตา ซึ่งกล้อง
โทรทรรศน์ที่เกรกอรีออกแบบนี้ต้องการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากอาการภาพพร่ามัวที่มีสาเหตุ
มาจากความผิดปกติรูปทรงของกระจกเพียงเล็กน้อย (การออกแบบของเกรกอรีและการออกแบบ
ของแคสสิเกรนมีความคล้ายกัน) ซึ่งถ้ามองอย่างผิวเผินการออกแบบทั้งสองจะดูคล้ายๆ กัน
ในที่สุดการออกแบบกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนก็ถูกน�ามาใช้กันแพร่หลาย แต่ในขณะนั้นการ
ออกแบบนี้ ช่างท�ากระจกยังไม่สามารถขัดกระจกให้มีส่วนโค้งเว้าที่ไม่ใช่รูปทรงกลมได้ แต่ช่างท�า
กระจกบางคนในลอนดอนก็พยายามที่จะสร้างกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้กระจกสะท้อนที่เกรกอรีได้
ออกแบบนี้แต่ก็ล้มเหลว ในปัจจุบันกระจกชนิดนี้ถูกเรียกว่า “กระจกสะท้อนแสงแบบเกรกอเรียน”
(Gregorian Reflectors) เพื่อเป็นเกียรติแก่ เจมส์ เกรกอรี ที่เป็นผู้ออกแบบกระจกชนิดนี้
รูปที่ 17 เกรกอรีได้ออกแบบนวัตกรรมส�าหรับกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้กระจก รูปที่ 18 ภาพวาดของเจมส์ เกรกอรี
จากหนังสือ Optica Promota Seu, Abdita Radiorum Reflexorum &
Refractorum Mysteria, Geometrice Enucleata.
18 400 ปี วิวัฒนาการกล้องโทรทรรศน์