Page 109 - JMSD VOL.1 No.1 2016 _Neat
P. 109

Journal of MCU Social Development
        Vol.1 No.1 January - April 2016



               3. บุรพาจารย์ หรือบูรพาจารย์คือ อาจารย์เบื้องต้น หมายถึง บิดา มารดา ซึ่งถือว่า เป็นครูคน
        แรกของบุตร ธิดา

               4. ปรมาจารย์คือ อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง
               5. ปาจารย์คือ อาจารย์ของอาจารย์
               ส่วนค�าศัพท์ในภาษาอังกฤษที่มีความหมายคล้ายกับค�าว่า ครู หรือ Teacher มีหลายค�า คือ

               1. Teacher หมายถึง ผู้ที่ท�าหน้าที่ประจ�าในโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษา ต่าง ๆ ตรงกับค�า
        ว่า ครู หรือ ผู้สอน

               2. Instructor หมายถึง ผู้ที่ท�าหน้าที่เป็นผู้สอนโดยเฉพาะในวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัย ตรงกับ
        ค�าว่า อาจารย์
               3. Professor (ในประเทศอังกฤษ) หมายถึง ต�าแหน่งผู้สอนที่ถือว่าเป็น ต�าแหน่งสูงสุดในแต่ละ

        สาขาวิชาในมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ แต่ใน อเมริกาและแคนาดาใช้เป็นค�าน�าหน้านามส�าหรับผู้สอนใน วิทยาลัย
        หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้ค�า ว่า Assistant Professor รองศาสตราจารย์ ใช้ค�า

        ว่า Associate Professor ศาสตราจารย์ ใช้ค�าว่า Professor
               4. Lecturer หมายถึง บุคคลผู้สอนในมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัย ตรงกับค�าว่า ผู้บรรยาย
               5. Tutor หมายถึง ผู้ที่ท�าหน้าที่สอนนักศึกษาเป็นกลุ่มเล็กๆหรือรายบุคคล โดยท�างานเป็นส่วน

        หนึ่งของผู้บรรยาย คล้าย ๆ กับผู้สอนเสริมหรือสอนกวดวิชา
               6. Sophist เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง ปราชญ์ผู้สอนวิชาต่าง ๆ คล้ายกับค�าว่า “ทิศาปาโมกข์”

               จากความหมายข้างต้น จะเห็นว่า อาจารย์ต้องเป็นคนที่มีทั้งความรู้และความประพฤติที่ดี กอปร
        ด้วยความเมตตา กรุณาต่อศิษย์ คงไม่เกินความจริงที่จะกล่าวว่า อาจารย์เป็นบุคคล “ไตรภาคี” คือ มาจาก
        องค์ประกอบส�าคัญ 3 ประการ คือ 1) ความรู้ดี 2) ความประพฤติดี และ 3) มีคุณธรรม (เมตตากรุณา)

        หากขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งจะไม่สามารถเป็นอาจารย์ที่ดีได้ องค์ประกอบ 3 ประการนี้ เป็น
        หลักความจริงที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งส�าหรับผู้มีหน้าที่เป็นอาจารย์ เพราะผู้ที่มีองค์ประกอบทั้งสามนี้ และ

        พัฒนาถึงชั้นสูงสุด จะอยู่ในฐานะเป็นยอดครู หรือบรมครู เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงได้รับการขนาน
        พระนามว่า “บรมครู” เพราะพระองค์ ทรงมีองค์ประกอบ ๓ ประการนี้ ที่พัฒนาถึงชั้นสูงสุดแล้ว คือ ทรง
        มีพุทธคุณ ๓ ประการ คือ 1. พระปัญญาคุณ (ความรู้) 2. พระวิสุทธิคุณ (ความบริสุทธิ์, ความประพฤติดี)

        3. พระกรุณาคุณ (ความสงสาร,ทนไม่ได้ที่จะไม่ช่วยเหลือคนอื่น)



        บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของครูตามหลักพระพุทธศาสนา
               บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของครูตามหลักพระพุทธศาสนาเอาไว้ว่า บทบาท หน้าที่ และ
        ความรับผิดชอบของครูตามหลักพระพุทธศาสนาโดยยึดหลักทิศ 6 เป็นหลัก (พระราชวรมุนี [ป.อ. ปยุตฺ

        โต], 2528: 53,55,57) หน้าที่ของครูอาจารย์ที่พึงกระท�าต่อศิษย์ ไว้ 5 ประการ ดังนี้




                                               100
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114