Page 25 - JMSD VOL.1 No.1 2016 _Neat
P. 25
Journal of MCU Social Development
Vol.1 No.1 January - April 2016
Keywords: Effectiveness, The Strategic Planned Implementation,
The Lower Northeastern
บทน�า
ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ภายหลังจากที่เกิดวิกฤติทางการเมืองอย่างรุนแรงของ
ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงห้วงครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2557 และตามที่ได้มีประกาศพระบรม
ราชโองการแต่งตั้งให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 และ
แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2557 ไปนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินภายใต้เงื่อนไข
และเงื่อนเวลาบางประการ นายกรัฐมนตรีจึงได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ต่อสภานิติบัญญัติแห่ง
ชาติในวันที่ 12 กันยายน 2557 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 โดย
รัฐบาลเข้ามาสืบทอดงานและสานต่อภารกิจจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ได้เคยก�าหนด
แนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศไว้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะที่หนึ่ง มุ่งระงับความแตกแยก ยุติการ
ใช้ก�าลังและอาวุธสงครามก่อความรุนแรง การแก้ไขผลกระทบจากการที่รัฐบาลและรัฐสภาก่อนหน้านั้นอยู่
ในสภาพที่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกตินานกว่า 6 เดือน ตลอดจนเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะ
หน้าของประชาชน มุ่งน�าความสุขและความสงบกลับคืนสู่ประเทศไทยเป็นเรื่องส�าคัญเร่งด่วน 2) ระยะที่
สอง เป็นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว การจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจ�าปีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมถึงการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ การจัดตั้งสภาปฏิรูป
แห่งชาติและคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นการออกแบบพร้อมวางรากฐานทางการเมือง
เศรษฐกิจและสังคม อันให้เกิดความมั่นคง และ 3) ระยะที่สาม เป็นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
และการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวเป็นพันธกิจที่รัฐบาลชุดนี้จะยังคงยึดมั่นและด�าเนินการต่อ
ไป โดยที่มาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้ก�าหนดหน้าที่ของรัฐบาลไว้ 3
ประการ ได้แก่ การบริการราชการแผ่นดิน การด�าเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่างๆ และการส่งเสริม
ความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ (ส�านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2557: 2) เพื่อ
ให้การด�าเนินงานอันเร่งด่วนของรัฐบาลจะน�าไปสู่ความสงบสุขของคนในชาติ จึงได้ก�าหนดนโยบายไว้หลาย
ด้าน นโยบายส�าคัญอีกด้านหนึ่งคือ การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกัน
ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เป็นค่านิยมพื้นฐานหรือคุณค่าส�าหรับการยึดถือประพฤติ
ปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันของสังคม จึงเป็นปัจจัยส�าคัญของความมั่นคงของประเทศ หากผู้ปกครองและ
ประชาชนมีคุณธรรม มีจริยธรรม และมีการปกครองที่มีธรรมา ภิบาลแล้ว ประเทศนั้นก็จะมีความเข้มแข็ง
ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข และในทางตรงกันข้าม หากประเทศใดไม่มีคุณธรรม จริยธรรม และ
ธรรมาภิบาล สังคมนั้นย่อมอ่อนแอ มีความแตกแยกและอาจถึงล่มสลายได้ ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม
16