Page 28 - JMSD Vol.1 No.3 -2016
P. 28
Vol.1 No.3 September - December 2016
Journal of MCU Social Development
นอกจากการคอร์รัปชั่นในลักษณะข้างต้น ยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่อาจเรียกได้ว่า
เป็นการกระทำาอยู่ในข่ายคอร์รัปชั่นได้ คือ
1) การทำางานไม่เต็มเวลา มาทำางานสาย กลับจากที่ทำางานก่อนเวลา เอาเวลาไปทำางาน
ที่อื่น มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กลายเป็นเรื่องปกติของบางคน การทำางานไม่เต็มเวลา
ถ้าเกิดในหน่วยงานภาครัฐ จะมีผลกระทบอย่างมากต่อความรู้สึกของประชาชน จะถูกมองจาก
ประชาชนว่า เป็นการคอร์รัปชั่นเวลา (time corruption) เบียดบังเวลาราชการ แต่รับเงินเดือน
เต็มเวลา (สังศิต พิริยะรังสรรค์, 2537: 87)
2) การปั่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยทำาให้ราคาหุ้นสูงกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อจะได้กำาไร
ในราคาสูงจากการขายหุ้นในช่วงตลาดหุ้นเริ่มคึกคัก ปั่นหุ้นเมื่อจังหวะอำานวยในช่วงหุ้นเข้าตลาด
ใหม่ ๆ กดราคาหุ้นให้ตำ่าลงเพื่อให้รายอื่นเทขายหุ้นในราคาถูก แล้วปั่นหุ้นที่สะสมในมือให้ราคา
สูงขึ้น (วีระพงษ์ บุญโญภาส, 2544: 55)
3) การนำาทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นไปใช้ เช่น การทำาซำ้า ดัดแปลง เผยแพร่ต่อ
สาธารณชน ให้เช่าหรือสำาเนา ซีดี วีซีดี ดีวีดี ข้อมูลทางวิชาการที่เป็นวรรณกรรมของผู้อื่น โดย
ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (สืบวงศ์ วิชัยลักษณ์, 2542: 2)
ความจริงแล้ว การคอร์รัปชั่นยังมีวิธีอีกมากมาย ได้มีการฝังรากลึกลงในสังคมไทย ผู้คน
ทั่วไปเห็นเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำาวัน และยินยอมที่จะเสียเงินเพื่อซื้อความสะดวก สิทธิพิเศษ
หรือตัดความรำาคาญ ได้เกิดความคิดชนิดกินตามนำ้าว่า เข้าเมืองตาหลิ่วก็หลิ่วตาตาม ตัวเล็กกิน
ไก่ตัวใหญ่กินช้าง คนโกงที่เก่งดีกว่าคนซื่อที่ทำางานไม่เป็น การกระทำาและความคิดเหล่านี้ เป็น
เหตุให้สังคมไทยเป็นสังคมคอร์รัปชั่นเกือบจะสมบูรณ์
การคอร์รัปชั่นมิได้ส่งผลดังที่ได้กล่าวเท่านั้น ยังส่งผลทำาให้ถนน สะพาน อาคาร และสิ่ง
ก่อสร้างของรัฐตามโครงการต่างๆ ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร เพราะผู้รับเหมาจำาต้องลดมาตรฐาน
บางอย่างลงเพื่อทดแทนเงินเบี้ยบ้ายรายทางที่ต้องจ่ายไป ซึ่งนั่นย่อมเสี่ยงถึงความปลอดภัยและ
เพิ่มค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำารุง ส่วนในภาคอุตสาหกรรม เมื่อผู้ประกอบการต้องจ่ายเงินพิเศษแก่
ขบวนการคอร์รัปชั่น จำาเป็นต้องเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย ทำาให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาที่แพง
ขึ้นตามไปด้วย
สำเหตุที่ท�ำให้เกิดทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทย
การครอบงำาจากวัตถุนิยมและอำานาจนิยม
การขยายตัวของระบบทุนนิยมอย่างไม่มีขีดจำากัด ได้ทำาให้เงินเข้ามามีบทบาทในชีวิตของ
ผู้คนจนกลายเป็นเป้าหมายของชีวิต ความรำ่ารวยกลายเป็นความปรารถนาสูงสุดของผู้คน ใช่แต่
เท่านั้นเงินยังกลายเป็นตัววัดคุณค่าของทุกสิ่ง กลายเป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ในทุกมิติ กล่าวคือ
ความรักของพ่อแม่หรือของคู่รัก ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน อาจารย์กับนักศึกษา หมอ
กับคนไข้ ก็ต้องอาศัยเงินเป็นตัวเชื่อม หาใช่นำ้าใจดังแต่ก่อนไม่ นอกจากนั้นการยกย่องเงินเป็น
ใหญ่ยังทำาให้เกิดธุรกิจด้านอบายมุขมากมาย รวมทั้งสื่อมวลชนที่ส่งเสริมค่านิยมผิดๆ ที่สวนทาง
กับศีลธรรม สังคมไทยยังเป็นสังคมที่นิยมใช้อำานาจในการแก้ปัญหา รัฐบาลและระบบราชการเป็น
20