Page 29 - JMSD Vol.1 No.3 -2016
P. 29

วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
                                                                ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2559

                 แบบอย่างของการใช้อำานาจมากกว่าคุณธรรมหรือความรู้ ทำาให้เกิดวัฒนธรรมแบบอำานาจนิยม
                 ในทุกระดับและทุกสถาบัน รวมทั้งครอบครัว โรงเรียนและวัด ยิ่งใช้อำานาจมากเท่าไรจริยธรรม
                 ก็ถูกละเลยมากเท่านั้น จนเกิดค่านิยมแสวงหาอำานาจโดยไม่สนใจว่าจะถูกต้องชอบธรรมหรือไม่
                        ความล้มเหลวของสถาบันทางศีลธรรม
                        สถาบันทางศีลธรรม อันได้แก่ ครอบครัว ชุมชน วัด และโรงเรียน เคยมีบทบาทอย่าง
                 มากในการควบคุมและการกล่อมเกลาสำานึกทางศีลธรรมแก่ผู้คน แต่เมื่อเงินเข้ามามีบทบาทต่อ
                 ผู้คนอย่างมาก สัมพันธภาพที่เคยแน่นแฟ้นก็แปรเปลี่ยนไป เนื่องจากเศรษฐกิจและวิถีชีวิตแบบ
                 ใหม่ทำาให้ผู้คนอยู่กับแบบตัวใครตัวมัน ประกอบกับผู้คนหันไปพึ่งหน่วยงานของรัฐมากขึ้น ทำาให้
                 ความจำาเป็นที่จะต้องพึ่งชุมชนดังแต่ก่อนลดน้อยลง ในทำานองเดียวกันความเหินห่างระหว่าง
                 ฆราวาสกับพระภิกษุ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำาให้วัดมีบทบาทน้อยลง อิทธิพลของเงินทำาให้พระสงฆ์
                 ย่อหย่อนในวัตรปฏิบัติ และไม่สามารถเป็นแบบอย่างในทางศีลธรรมได้ วัดก็กลายเป็นแหล่งไสย
                 พาณิชย์และตลาดค้าบุญไป
                        การเมืองที่ไม่โปร่งใส
                        ระบบการเมืองที่มีช่องโหว่สามารถก่อให้เกิดปัญหาจริยธรรมหลายประการ เช่น
                 การเมืองที่ไม่โปร่งใส เปิดโอกาสให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือเปิดช่องให้ผู้มีอิทธิพลใช้เงินสร้าง
                 ฐานอำานาจจนเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ ทำาให้มีการใช้อำานาจมืดเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว เช่น
                 การตัดไม้ทำาลายป่า การให้สัมปทานแก่พวกพ้อง การอนุมัติโครงการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทน
                 หรือค่าคอมมิชชั่นแก่ตน ไปจนกระทั่งการลอบสังหารคนที่ขัดผลประโยชน์ของตน ขณะเดียวกัน
                 ระบบการเมืองที่รวบอำานาจเข้าส่วนกลางหรือระบบเผด็จการ ก็ทำาให้การตรวจสอบถ่วงดุลทั้งจาก
                 พรรคการเมืองฝ่ายค้านหรือจากสังคมเป็นไปได้ยาก การใช้อำานาจในทางฉ้อฉลเพื่อประโยชน์ส่วน
                 ตัว ทั้งโดยผู้มีอำานาจและพวกพ้องบริวารจึงเกิดขึ้นได้ง่าย กลายเป็นค่านิยมที่ผู้คนเลียนแบบกัน
                 ทั่วทั้งประเทศ
                        ระเบียบสังคมที่ให้รางวัล ส่งเสริม หรือบีบคั้นให้คนเห็นแก่ตัว
                        นอกจากระบบเศรษฐกิจที่ทำาให้คนเห็นแก่ตัวแล้ว ยังมีระบบต่างๆ ในสังคมที่ทำาให้ผู้คน
                 แก่งแย่งกันมากขึ้น เช่น ระบบจราจรที่ไม่เคร่งครัดกฎเกณฑ์ ระบบราชการที่ไม่เอื้อให้คนทำาดี แต่
                 เปิดช่องให้มีการทุจริตอย่างง่ายดาย หรือระบบยุติธรรม ซึ่งไม่โปร่งใสและอยู่ใต้อำานาจเงิน ทำาให้
                 คนมีเงินไม่สนใจที่จะทำาตามกฎหมาย เพราะเชื่อว่าสามารถใช้เงิน “อุด” ได้ ไม่เพียงแต่จะบีบ
                 คั้นให้คนเห็นแก่ตัวเท่านั้น หากยังให้ “รางวัล” แก่คนที่ทำาเช่นนั้นด้วย เช่น คนที่ไร้นำ้าใจจะไม่
                 หยุดให้แก่คนข้ามทางม้าลาย คนที่แซงคิวสามารถได้ตั๋วรถหรือตั๋วหนังก่อนใครๆ คนที่ทุจริต ซื้อ
                 ตำาแหน่งสามารถเลื่อนชั้นกว่าใครๆ ใครที่ซื้อของหนีภาษีได้ก็เป็นที่ยกย่องว่าเก่ง คนที่ขายยาบ้า
                 ค้าผู้หญิง นอกจากจะไม่ถูกตำารวจจับเพราะมีเส้นสายหรือให้สินบนเจ้าหน้าที่แล้ว ยังรำ่ารวยขึ้น
                 อย่างรวดเร็ว ในระบบเหล่านี้มีแต่ทำาให้คนเห็นแก่ตัวและเอาเปรียบกันมากขึ้น (พระไพศาล วิ
                 สาโล, 2553: 152)
                        ประชาชนส่วนใหญ่ถูกครอบงำาด้วยข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง จากคนกลุ่มน้อยที่มีอำานาจ
                 ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม



                                                                                           21
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34