Page 33 - JMSD Vol.1 No.2 - 2016
P. 33

วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
                                                                   ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559

                 เกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้ง 5 ด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็น
                 คุณ ไม่ให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่ง
                 แวดล้อมทางกายภาพ
                        2) สีลภาวนา หมายถึง การเจริญศีล พัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ใน
                 ระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน
                        3) จิตตภาวนา หมายถึง การเจริญจิต พัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคง
                 เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และ
                 สดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น
                        4) ปัญญาภาวนา หมายถึง การเจริญปัญญา พัฒนาปัญญา การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้
                 เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถท�าจิตใจให้เป็น
                 อิสระ ท�าตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา
                 (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต),2543)
                        การพัฒนาทางพระพุทธศาสนานั้นต้องเริ่มที่ตัวบุคคล หมายความว่า บุคคลที่อยู่ใน
                 ชุมชนหรือสังคม ควรที่จะได้รับการพัฒนาเป็นอันดับแรก ทั้ง 4 ด้าน คือ ทางด้านกาย ทางด้าน
                 หลักธรรม    ที่เหมาะสมในการพัฒนาทางสังคม คือ อปริหานิยธรรม หรือวัชชีอปริหานิยธรรม
                 ได้แก่ ธรรมไม่ท�า   ให้เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี 7 ประการ คือ
                        1) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
                        2) พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพียงกันท�ากิจที่พึงท�า
                        3) ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล่างสิ่งที่บัญญัติไว้ ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีกรรม
                 ตามที่วางไว้เดิม
                        4) ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยค�าของท่าน
                 ว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง
                        5) บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยไม่ถูกข่มเหงหรือฉุดคร่าขืนใจ
                        6) เคารพสักการบูชาเจดีย์ของวัชชีทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิก
                 พลีที่เคยท�าแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป
                        7) จัดให้ความอารักขา คุ้มครองป้องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลายตั้งใจว่า
                 ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นผาสุก
                        อปริหานิยธรรม 7 ประการนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐโดย
                 ระบอบสามัคคีธรรม ซึ่งรัฐคู่อริยอมรับว่า เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วย
                 การรบไม่ได้ นอกจากจะใช้การเกลี้ยกล่อมหรือท�าให้เกิดความแตกสามัคคีกันภายในกลุ่มของวัชชี
                 จึงจะมีสิทธิชนะ จะเห็นได้ว่า อปริหานิยธรรม 7 ประการนี้ มีสามัคคีธรรม เป็นคุณธรรมที่คอยเกื้อ
                 หนุนให้การปฏิบัติตามนั้นเกิดเป็นผลจริง ฉะนั้น หลักสามัคคีธรรม ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้การ
                 พัฒนาสังคมเป็นไปตามแนวทางที่ชุมชนหรือสังคมตั้งเป้าหมายเอาไว้ ได้แก่ ความมีคุณภาพชีวิต
                 ที่ดี (อง.สตฺตก. (ไทย) 23/20/18) ส่วน สาระส�าคัญของความคิดเกี่ยวกับการพัฒนานั้น เนื่องมา
                 จากปรัชญาพื้นฐานของพุทธศาสนาที่ปรารถนาชี้ทางหลุดพ้นจากความทุกข์และชี้ทางสู่ความสุข



                                                                                           25
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38