Page 85 - ทักษะการเรียนรู้
P. 85
75
เรื่องที่ 1 ความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ / ปฐมบทของ “คิดเป็น”
ครั้งหนึ่ง ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเคยเป็นอธิบดีกรมการศึกษา
นอกโรงเรียนมาก่อนเคยเล่าให้ฟังว่ามีเพื่อนฝรั่งถามท่านว่า ท าไมคนไทยบางคนจนก็จน อยู่กระต๊อบเก่า ๆ
ท างานก็หนัก หาเช้ากินค ่า แต่เมื่อกลับบ้านก็ยังมีแก่ใจนั่งเป่าขลุ่ย ตั้งวงสนทนา สนุกสนาน เฮฮากับ
เพื่อนบ้านหรือโขกหมากรุกกับเพื่อนได้อย่างเบิกบานใจ ตกเย็นก็นั่งกินข้าวคลุกน ้าพริก คลุกน ้าปลากับ
ลูกเมียอย่างมีความสุขได้ ท่านอาจารย์ตอบไปว่า เพราะเขาคิดเป็น เขาจึงมีความสุข มีความพอเพียง
ไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อนทุรนทุรายเหมือนคนอื่น ๆ เท่านั้นแหละค าถามก็ตามมาเป็นหางว่าว เช่น ก็เจ้า
“คิดเป็น” มันคืออะไร อยู่ที่ไหน หน้าตาเป็นอย่างไร หาได้อย่างไร หายากไหม ท าอย่างไรจึงจะคิดเป็น
ต้องไปเรียนจากพระอาจารย์ทิศาปาโมกข์หรือเปล่า ค่าเรียนแพงไหม มีค่ายกครูไหม ใครเป็นครูอาจารย์
หรือศาสดา ฯลฯ ดูเหมือนว่า “คิดเป็น” ของท่านอาจารย์แม้จะเป็นค าไทยง่าย ๆ ธรรมดา ๆ แต่ก็ออกจะ
ลึกล ้า ชวนให้ใฝ่หาค าตอบยิ่งนัก
“คิดเป็น” คืออะไรใครรู้บ้าง
มีทิศทางมาจากไหนใครเคยเห็น
จะเรียนร ่าท าอย่างไรให้ “คิดเป็น”
ไม่ล้อเล่นใครตอบได้ ขอบใจเอย
ประมาณปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา ท่านอาจารย์ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ และคณะได้น าแนวคิดเรื่อง
“คิดเป็น” มาเป็นเป้าหมายส าคัญในการจัดการศึกษาผู้ใหญ่หลายโครงการ เช่น โครงการการศึกษาผู้ใหญ่
แบบเบ็ดเสร็จ โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ โครงการการศึกษาประชาชนและการศึกษา
ผู้ใหญ่ขั้นต่อเนื่อง* เป็นต้น ต่อมาท่านย้ายไปเป็นอธิบดีกรมวิชาการ ท่านก็น า “คิดเป็น” ไปเป็นแนวทาง
จัดการศึกษาส าหรับเด็กในโรงเรียนจนเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เพื่อให้การท าความเข้าใจกับการคิดเป็นง่ายขึ้น
พอที่จะให้คนที่จะมามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนตามโครงการดังกล่าวเข้าใจ และสามารถ
ด าเนินการกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักการ “คิดเป็น” ได้ จึงมีการน าเสนอแนวคิด
* นับเป็นวิธีการทางการศึกษาที่สมัยใหม่มากยังไม่มีหน่วยงานไหนเคยท ามาก่อน