Page 12 - การปลูกพืชผักสวนครัว
P. 12
แค
ดอกแค ยอดแคเป็นอาหารบ้านทุ่งที่เราอยากให้เข้ากรุง ไม่ใช่เพราะชอบชื่อของแค แต่เพราะคุณค่าทาง
อาหารของแคที่คนยังไม่ทราบ ชาวเกาะในอินโดนีเซียใช้น้ำดอกแคหยอดตารักษาตาเบลอ ส่วนใบแคนั้น หลาย ๆ
ที่ใช้เป็นยาระบาย แต่เมื่อกินเป็นอาหาร ยอดแคเป็นผักที่ให้ประโยชน์สูง มีเบต้า-แคโรทีนสูง ยอดแคขีดหนึ่ง ให้
ื
เจ้านี่ถึงเกอบครึ่งของที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน
ชะพลู
ผักใบรูปหัวใจที่ห่อเครื่องเมี่ยงกินอร่อยนั้น เป็นแหล่งเบต้า-แคโรทีนที่ดี กินสัก 10 ใบ ร่างกายได้ เบต้า-แคโร
ทีน 1 ใน 4 ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน กินผักอื่น ๆ เติมจนได้ครบเต็มรับรองว่าดีแท้ วงการวิทยาศาสตร์ที่
ก้าวหน้าอย่างอเมริกายังยกย่องว่าป้องกันมะเร็งได้...ชะพลูแกงคั่วไก่กอร่อย แต่อย่าตั้งไฟคั่วจนผักเสียรูปร่าง
็
เพราะความร้อนทำให้เสียเบต้า-แคโรทีนได้
ตะไคร้
ใบตะไคร้คม บาดผิว แต่กลิ่นตะไคร้หอมถูกใจคนไทย บางทีสงสัยว่าใครหนอไปเจอคุณค่าของต้นไม้หน้าตา
ธรรมดาเหมือนหญ้าทั่ว ๆ ไปได้...ตะไคร้ไม่เหมือนผักสีเขียวเข้มอื่น ๆ หน้าที่ของตะไคร้คือแต่งกลิ่น อย่างเช่น พล่า
กุ้ง ยำโน่นยำนี่ อาหารเหล่านี้ กินแกล้มกับผักสดได้ดี รสเปรี้ยวกับเผ็ดสะใจ ช่วยให้ผักที่รสชาติธรรมดามีรสดี
บันเทิงลิ้นสุด ๆ ตะไคร้หอมชวนกินแล้วยังช่วยท้องให้ไม่อืด ไม่แน่นอีกด้วย
บัวบก
ี่
เป็นคนฉลาดต้องการทั้งสมองที่แข็งแรง และความคิดทแหลมคม กว้าง ลึก สมองที่ีดีต้องมีอาหารไปเลี้ยง ใบ
บัวบกมีวิตามินบี 1 สูงกว่าผักหลาย ๆ ชนิด นี่คือ อาหารสมอง...บัวบก ผักใบเล็กที่ชอบเมืองไทย ขึ้นอย่างเป็นสุข
ในเมืองไทย และให้อาหารสมองแก่คนไทยเหลือเฟอ เมืองนอกมการสกัดบัวบกเป็นอาหารสกัดสำหรับบำรุง
ี
ื
ร่างกาย โดยผสมกับโสม ใช้ใบบัวบกเติมกำลังให้สมอง
ใบแมงลัก
โลกขาดความรักไม่ได้ แกงเลียงขาดใบแมงลักไม่ได้ ใบแมงลักมีกลิ่นพิเศษ หอมโปร่งจมูก ให้เบต้า-แคโร
ทีนที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด มีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยย่อยอาหาร ปลูกแมงลักใส่กระถางวาง
ไว้ให้เป็นห้องทดลองวิชาเกษตรของครอบครัว...รักแท้ต้องการการดูแล ลองปลูกแมงลัก แล้วเอาใจใส่แมงลัก เราก็
จะได้ใบแมงลักสวย ๆ หอม ๆ มากิน
มะกรูด
ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นเกียรติเป็นศรีของอาหารไทย คุณประโยชน์ของมะกรูดอยู่ที่น้ำมันหอมระเหย
มะกรููดไม่เพียงมีกลิ่นชวนกิน ดับกลิ่นคาวเนื้อที่เป็นแหล่งโปรตีน แถมใบมะกรูด ผิวมะกรูดช่วยในการย่อยอาหาร
จะกินแบบต้มราดกะทิ หรือกนเป็นเครื่องปรุงกลิ่นกล่อมรสก็ดีล้วนใบมะกรูดมีแคลเซียมและเบต้า-แคโรทีนสูง แต่
ิ
เพราะเรากินไม่เป็นกอบเป็นกำ มะกรูดจึงเด่นที่กลิ่นหอมมากกว่า