Page 48 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 48
คชลักษณ์ช้างเผือก
ช้างเผือก คือช้างที่มีลักษณะต่างจากช้างธรรมดาทั่วไป ด้วยมีนัยน์ตา และเล็บสีขาว รวมถึงสีผิวที่อ่อนกว่า
ช้างธรรมทั่วไป อาจจะเป็นสีชมพูหรือสีขาวก็ได้ โดยที่มิใช่เป็นสัตว์เผือก จัดได้ว่ามีลักษณะที่หาได้ยาก จึงเป็นที่เชื่อ
กันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ และเป็นเครื่องมงคลชนิดหนึ่งในสัปตรัตนะแห่งพระเจ้า
จักรพรรดิ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว (ช้างเผือก ชื่อ อุโบสถ) ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คฤหบดีแก้ว และปรินายกแก้ว
ลักษณะ
ตามความหมายในพระราชบัญญัติส าหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช 2464 ในสมัยรัชกาลที่6 ก าหนด
ช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษไว้ 7 ชนิด ตามมาตรา 4 ระบุไว้ว่า
1. "ช้างส าคัญ" มีคชลักษณะ 7 ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้าย
หม้อใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกศขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่
2. "ช้างสีประหลาด" คือ ช้างที่มีมงคลลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 7 อย่างที่ก าหนดไว้ในคชลักษณะของช้าง
ส าคัญ
3. "ช้างเนียม" มีลักษณะ 3 ประการ คือ พื้นหนังด า งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย เล็บด า
พระราชบัญญัติส าหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช 2546 นี้ไม่มีชนิดใดเรียกว่าช้างเผือก แต่คนไทยทั่วไป
คุ้นเคยกับค าว่า "ช้างเผือก"
26-47