Page 43 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 43

หุ่นกระบอก



























                            การเล่นหุ่นกระบอกของไทยเป็นการแสดงมหรสพที่มีความส าคัญอย่างหนึ่งและมีลักษณะเด่นไม่แพ้
              มหรสพชนิดอื่นๆ การแสดงหุ่นกระบอกประกอบด้วยศิลปะชั้นสูงหลายสาขา ตั้งแต่การสร้างตัวหุ่นซึ่งมีความสูง

              ประมาณ 30 - 50 เซนติเมตร ศีรษะของหุ่นส่วนมากท าจากวัสดุที่มีน้ าหนักเบาแต่มีความทนทาน เช่น ไม้นุ่น หรือ

              ไม้ทองหลาง ซึ่งเป็นไม้เนื้อเบา ศีรษะของหุ่นกระบอกมีขนาดความสูงประมาณ 10 - 12 เซนติเมตร ส่วนศีรษะติด

              กับล าคอที่ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ศีรษะของหุ่นถ้าจะเทียบแล้วก็คงมีขนาดไล่เลี่ยกับก ามือของผู้ใหญ่ ที่ล าคอ

              คว้านให้เป็นรูไว้ตรงกลาง เพื่อสอดล าไม้ไผ่ที่มีปล้องขนาดเล็ก เช่น ไม้ไผ่รวก ขนาดความยาวประมาณ 30

              เซนติเมตร กระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นล าตัวของหุ่นนี้เองที่เป็นที่มาของชื่อ หุ่นกระบอก มือของหุ่นก็ท าจากไม้ด้วย

              เช่นกัน หรือบางครั้งอาจใช้แผ่นหนังอย่างหนามาท าเป็นมือหุ่น เพื่อความทนทานขึ้น ที่ข้อมือของหุ่นแต่ละข้างมีไม้
              ไผ่ที่เหลาให้มีขนาดเล็กประมาณแท่งดินสอ ความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ผูกติดกับข้อมือของหุ่นไว้ทั้ง 2 ข้าง

              เรียวไม้ไผ่ที่ผูกติดกับข้อมือของหุ่นกระบอกนี้มักเรียกกันว่า "ตะเกียบ" ทั้งนี้ คงเป็นเพราะว่ามีขนาดไล่เลี่ยกับ

              ตะเกียบที่ชาวจีนนิยมใช้รับประทานอาหารและต้องใช้เป็นคู่เช่นเดียวกันนั่นเอง ทั้งตะเกียบและแกนกระบอกล าตัว

              ของหุ่น ซ่อนอยู่ในเสื้อผ้าของหุ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายถุง  ความงดงามของหุ่นกระบอกจะอยู่ที่การวาดหน้าตาของหุ่น

              เครื่องประดับและเสื้อผ้าอาภรณ์ต่างๆ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับการแต่งกายของโขนและละครของไทยที่มีมาแต่
              โบราณ



















                                                         22-42
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48