Page 42 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 42

บ้านสายรัดประคด























                       เมื่อข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาฯ คือ “บ้านสายรัดประคด” ตั้งอยู่บนถนนมหาชัยฝั่งตรงข้ามวัด

               เทพธิดารามฯ ที่มาของชื่อบ้านสายรัดประคดเกิดจากมีบ้านที่ท าสายรัดประคด หรือสายคาดเอวส าหรับ

               พระสงฆ์อยู่ในบริเวณนี้จ านวน 3 หลัง เป็นลูกหลานในตระกูลของ “พระยารามรณรงค์สงครามรามมีไชยไสว

               เวียง” ซึ่งเป็นต้นตระกูล “รามโกมุท” ได้รับพระราชทานที่ดินจากรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า

               เจ้าอยู่หัว เป็นสายรัดประคดที่ท ามาจากเส้นไหมและท าส่งร้านสังฆภัณฑ์แถวเสาชิงช้า แต่เลิกกิจการไปเพราะ

               ไม่มีคนสืบทอด


                       จากการสอบถามพบว่า มีชาวบ้านที่เคยรับจ้างท าสายรัดประคดได้ย้ายไปอยู่แถบย่านจรัญสนิทวงศ์

               รวมระยะเวลาที่มีการท าสายรัดประคดในบริเวณนี้ทั้งสิ้นราว 30 ปี พื้นที่บริเวณนี้ไว้



                       การทอสายรัดประคดในประเทศไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

               โดยส่วนใหญ่เป็นคนในตระกูล “รามโกมุท” ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้น โดยมีศาลากลางชุมชนเป็นที่ส าหรับ

               การทอสายรัดประคดของคนในตระกูล นอกจากสายรัดประคดแล้วยังมีการทอพู่ลูกเสือและเนคไทด้วย


                       การทอสายรัดประคดต้องใช้เครื่องมือในการทอหลายชนิด คือ กี่ ชุน อีโต้ ระวิง กระดานด้าย ไม้วัด

               และกระที่ท าจากหนังวัว สายรัดประคดที่ท าส าเร็จแล้วจะส่งไปขายตามร้านสังฆภัณฑ์ต่างๆ เช่น ย่านเสาชิงช้า

               ภายหลังเมื่อคนในตระกูลรามโกมุทเริ่มมีการแต่งงานย้ายออกจากชุมชนไปอยู่ที่อื่น เช่น ฝั่งธนบุรี ท าให้เกิด

               การเปลี่ยนแปลงต่อการท าสายรัดประคด คือ มีผู้ท าสายรัดประคดน้อยลง อีกทั้งยังเป็นผลมาจากมีเครื่องจักร

               ส าหรับท าสายรัดประคดด้วย ช่วงที่คนในตระกูลเริ่มมีการย้ายออกไปอยู่ที่อื่น แม้จะยังคงมีผู้สืบทอดการท า

               สายรัดประคดต่อ คือ คุณนพและคุณนุช แต่ภายหลังทั้งสองท่านมีอายุมากขึ้นจึงเลิกท าไป ท าให้การท าสาย

               รัดประคดไม่มีผู้ที่สืบทอดต่อและค่อยๆ ลบเลือนหายไป เหลือแต่เพียงชื่อชุมชนสายรัดประคดเท่านั้น






                                                         21-41
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47