Page 37 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 37
จบ คือ ท าความเคารพ ยืนบนแท่นเสาตะลุงเบญพาดพร้อมด้วยเครื่องผูกมัดเพื่อให้ยืนโรงในพระราชพิธีได้โดย
เรียบร้อย ส่วนพระราชพิธีสมโภชแต่ก่อนมีการสมโภช ณ จังหวัดที่ได้ช้างและตามเมืองที่ผ่าน ครั้นถึง
กรุงเทพมหานครมีพิธีสมโภชใหญ่
ในรัชกาลปัจจุบัน มีช้างเผือกที่มีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางแล้วมาสู่พระบารมีแล้ว 10 ช้าง ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดงาน ดังนี้ วันแรก คือ พิธีถวายช้าง และจารึกนามช้างส าคัญในอ้อยแดง
เมื่อกระบวนแห่ช้างส าคัญ ซึ่งประกอบด้วย กระบวนหน้า กระบวนอิสริยยศและกระบวนหลังน าช้างส าคัญยืน
แท่นในโรงพระราชพิธีแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานน้ า พระพุทธมนต์ อ้อยแดง ซึ่งจารึก
นาม และเครื่องคชาภรณ์ คือ เครื่องแต่งตัวช้างส าคัญ ได้แก่ ผ้าปกหลัง ปกกระพอง พานหน้า เครื่องผูกหุ้ม
ทอง สายสร้อยคอห้อยเสมาทอง พู่หู ชนัก ประโคม และส าอาง เป็นต้น
จากนั้นพราหมณ์อ่านฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ศิลปินขับไม้ประกอบซอสามสาย สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระราชนิพนธ์ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง โดยทรงรักษารูปแบบ
ธรรมเนียมค าประพันธ์ตามโบราณราชประเพณี และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมือง เช่น บทลา
ไพร ชมเมือง และสอนช้าง เป็นต้น พระราชพิธีในวันต่อมา คือ การน าช้างส าคัญอาบน้ าและตักบาตรพระสงฆ์
จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบ าเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ พราหมณ์
เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระราชครูพราหมณ์เจิมและป้อนน้ ามะพร้าวอ่อนเป็นเสร็จพิธี
18-36