Page 1087 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1087

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพริก
                       2. โครงการวิจัย             การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก

                       3. ชื่อการทดลอง             การสร้างพันธุ์พริกจินดาเพื่อให้ได้สายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมัน

                                                                    1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          พีชณิตดา  ธารานุกูล         ศรีนวล  สุราษฎร์ 1/
                                                                 1/
                                                   ชูศักดิ์  แขพิมาย           นิชุตา  คงฤทธิ์ 1/
                                                   สมศักดิ์  อิทธิพงษ์ 1/

                       5. บทคัดย่อ
                               การสร้างพันธุ์พริกจินดาเพื่อให้ได้สายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมัน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา

                       สายพันธุ์พริกจินดาให้ได้ลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน และเพื่อศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาสายพันธุ์พริกจินดา

                       ที่มีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงกันยายน 2558 ณ ศูนย์วิจัย
                       และพัฒนาการเกษตรโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยเป็นการถ่ายทอดลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน

                       (male sterility) ที่เกิดจากปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างยีนในนิวเคลียสและหน่วยพันธุกรรมในไซโตพลาซึม
                       (cytoplasmic genetic male sterrility) จากสายพันธุ์พริกที่มีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมันที่ได้มาจาก

                       ศูนย์วิจัยพืชผักเขตร้อน กำแพงแสน สู่พริกจินดาสายพันธุ์ดีจากศูนย์วิจัยพืชสวนศรีษะเกษ จำนวน 3 สายพันธุ์
                       ประกอบด้วย สายพันธุ์ พจ.054 สายพันธุ์ พจ.045 และสายพันธุ์ ศก.19 ด้วยกรรมวิธีผสมกลับ (backcross)

                       ไปยังพริกสายพันธุ์ดีทั้ง 3 สายพันธุ์ ประมาณ 4 ชั่วรุ่น เพื่อให้ลูกผสมที่ได้มีลักษณะใกล้เคียงกับพริก

                       สายพันธุ์ดีทั้ง 3 สายพันธุ์ โดยให้พริกสายพันธุ์ดีเป็นต้นพ่อ และพริกที่ได้จากการผสมระหว่างพริกที่มี
                       ลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมันกับพริกสายพันธุ์ดีเป็นต้นแม่ จากผลการทดลองพบว่าเมื่อมีการผสมเกสรเพื่อ

                       ถ่ายทอดลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมันไปยังพริกสายพันธุ์ดี สามารถผสมติดได้ดี แต่เมื่อมีการผสมกลับ

                       (backcross) พบว่ามีอัตราการผสมติดต่ำคือมีอัตราการผสมติดประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ไม่สามารถ
                       ดำเนินการทดลองเพื่อหาต้นที่มีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมันและมีลักษณะใกล้เคียงพริกจินดาสายพันธุ์ดี

                       ทั้ง 3 สายพันธุ์ได้

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                               จากงานวิจัยที่ได้ถึงแม้ว่ายังไม่สามารถได้สายพันธุ์พริกที่มีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมันและ

                       สายพันธุ์ Maintainer line แต่ข้อมูลองค์ความรู้ในการสร้างสายพันธุ์พริกทั้งสองลักษณะสามารถเป็น
                       ประโยชน์ต่อผู้สนใจสร้างสายพันธุ์พริกที่มีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน เพื่อนำไปใช้ในการผลิตลูกผสม

                       พริกได้ในอนาคต











                       ____________________________________________
                        ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง
                       1/


                                                          1020
   1082   1083   1084   1085   1086   1087   1088   1089   1090   1091   1092