Page 1089 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1089
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพริก
2. โครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก
3. ชื่อการทดลอง การปรับปรุงพันธุ์พริกช่อเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ
Varietal Improvement of Chili Pepper (Capsicum annuum L.
cv. Choe) for Improving Yield and Quality
4. คณะผู้ดำเนินงาน จิรภา ออสติน เสาวนี เขตสกุล 1/
1/
รัชนี ศิริยาน สุภาวดี สมภาค 1/
1/
จันทนา โชคพาชื่น ธารทิพย์ ภาสบุตร 2/
1/
ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี 2/
5. บทคัดย่อ
การปรับปรุงพันธุ์พริกช่อเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์พริกช่อ
(Capsicum annuum L. cv. Choe) ให้มีผลผลิตสูง ตรงตามพันธุ์ ติดผลมากกว่า 6 ผลต่อช่อ และการ
สุกแก่สม่ำเสมอในช่อดอกเดียวกัน ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ระหว่างเดือนตุลาคม 2555
ถึงกันยายน 2558 ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ได้รวบรวมพันธุ์พริกช่อจากแหล่งปลูกต่างๆ ได้แก่
จังหวัดเชียงราย (เมล็ดพันธุ์พริกจากจีน) จังหวัดน่าน จังหวัดอุบลราชธานี และ จังหวัดเพชรบูรณ์ มาปลูก
คัดเลือกพันธุ์แบบจดประวัติ (Pedigree selection) ปลูกคัดเลือกต้นที่ต้องการ และทำการผสมตัวเอง
แล้วคัดเลือกซ้ำ ตามมาตรฐานที่วางไว้ จากผลการทดลอง คัดเลือกสายพันธุ์พริกช่อได้จำนวน 33 รหัส
พันธุ์ เป็นพริกช่อที่มีลักษณะผลคล้ายพริกหัวเรือ จำนวน 10 รหัสพันธุ์ คือ 6-01-3, 23-01-1, 39-04-1,
42-01-2, 54-01-2, 55-01-2, 55-03-1, 60-01-2, 60-02-2 และ 63-03-2 พริกช่อที่ลักษณะผลคล้าย
พริกจินดา จำนวน 14 รหัสพันธุ์ คือ 8-04-2, 11-02-1, 26-01-1, 32-02-2, 32-02-2, 40-06-1, 45.01-2,
45-02-03, 45-03-2, 47-01-1, 49-01-2, 49-02-1, 57-03-1 และ 57-04-1 และพริกช่อที่มีลักษณะผล
คล้ายพริกยอดสน จำนวน 9 รหัสพันธุ์ คือ 27-01-02, 27-01-02, 32-01-26, 34-02-1, 35-01-2,
40-06-2, 43-02-1, 44-01-3 และ 46-01-1 จะนำพันธุ์พริกที่ได้จากการทดลองไปปลูก และคัดเลือกพันธุ์
ตามกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พริกต่อไป นอกจากนี้ยังได้ต้นพริกช่อที่มีผลอ่อนสีดำ หรือม่วงเข้ม ขนาด
ผลสั้น และผลยาว เมื่อสุกจะมีสีแดงส้ม ต้นเตี้ย และผลดก มีลักษณะเหมาะสำหรับปลูกเพื่อทำพริกประดับ
ในกระถาง
_____________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2/ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ
1022