Page 1150 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1150

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          การวิจัยและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ

                       2. โครงการวิจัย             โครงการวิจัยและพัฒนาเฟินชายผ้าสีดา
                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยบางชนิดที่มีผลต่อการขยายพันธุ์ของเฟินสกุล

                                                   ชายผ้าสีดา

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          อนุ  สุวรรณโฉม 1/
                       5. บทคัดย่อ

                              การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยบางชนิดที่มีผลต่อการขยายพันธุ์ของเฟินสกุลชายผ้าสีดา
                       ประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ 1) อิทธิพลของสูตรอาหารสังเคราะห์ที่มีผลต่อการงอกของสปอร์เฟิน

                       สกุลชายผ้าสีดา มีการวางแผนการทดลองแบบ 4 x 4 Factorial in CRD มี 2 ปัจจัย 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1

                       เฟินชายผ้าสีดาจำนวน 4 ชนิด คือ P. holltumii, P. coronarium, P. bifurcatum และ P. wandae
                       ปัจจัยที่ 2 สูตรอาหารสังเคราะห์จำนวน 4 สูตร คืออาหารสูตรครึ่ง MS, อาหารสูตร MS อาหารสูตร Knop

                       และอาหารสูตร Miller and Miller ดำเนินการในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง

                       เชียงใหม่ พบว่า สปอร์ของเฟินชายผ้าสีดาหูช้างไทย สามารถงอกได้ดีในอาหารสูตร Miller and Miller
                       (1961) และอาหารสูตร Knop (1865) ชายผ้าสีดาสายผ้าม่าน 2) อิทธิพลของสูตรอาหารสังเคราะห์และ

                       ชนิดชิ้นส่วนเจริญของชายผ้าสีดาต่อการพัฒนาของเนื้อเยื่อ มีการวางแผนการทดลองแบบ Factorial 2 x 4

                       in CRD มี 2 ปัจจัย 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 ชิ้นส่วนเจริญของชายผ้าสีดา 2 ชนิดคือ ใบกาบ และใบชาย ปัจจัยที่ 2
                       สูตรอาหารสังเคราะห์จำนวน 4 สูตร ได้แก่ อาหารสูตรครึ่ง MS, อาหารสูตร MS, อาหารสูตร Knop และ

                       อาหารสูตร Miller and miller พบว่า ชิ้นส่วนกาบใบและชายใบของเฟินสายพันธุ์ Platycerium holtumii
                       และ Platycerium ridleyi มีอัตราการรอดชีวิตเท่ากับ 71 เปอร์เซ็นต์ และ 75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

                       และพบว่าการชักนำชิ้นส่วนใบกาบและใบชายของเฟินสกุลชายผ้าสีดาทั้งสองสายพันธุ์ไม่มีการเกิด Callus

                       อาจเป็นเพราะว่าสูตรอาหารสังเคราะห์ที่นำมาเพาะเลี้ยงใบกาบและใบชายยังไม่มีความเหมาะสมเพียงพอ
                       ต่อการชักนำให้กาบใบและชายใบเกิด Callus  ดังนั้นจึงต้องมีการหาสูตรอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

                       ชิ้นส่วนกาบใบและชายใบ เพื่อให้สามารถพัฒนาเป็น Callus และเจริญเติบโตเป็นต้นอ่อนต่อไป
                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                            พัฒนาต่อ










                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
                                                          1083
   1145   1146   1147   1148   1149   1150   1151   1152   1153   1154   1155