Page 1151 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1151
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย การปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ส้มเปลือกล่อน
3. ชื่อการทดลอง การสำรวจและรวบรวมสายต้นส้มเขียวหวาน สายน้ำผึ้ง และส้มต่างๆ
ที่ทนทานต่อโรคกรีนนิ่งในสภาพสวนที่มีการระบาดของโรค
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ทรงพล สมศรี พันธุ์ศักดิ์ แก่นหอม 2/
วีระ วรปิติรังสี มณฑิรา ภูติวรนาถ 4/
3/
5. บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ส้มเปลือกล่อนให้ทนทานต่อโรคกรีนนิ่ง ซึ่งได้ดำเนินการ
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 - 2558 โดยได้สำรวจและรวบรวมพันธุ์ส้มเปลือกล่อนที่ทนทานต่อโรคกรีนนิ่ง
ในพื้นที่ สภาพสวนที่มีการระบาดของโรคได้ทั้งสิ้น 18 สายต้น ประกอบด้วยส้มเขียวหวาน 11 สายต้น
และส้มสายน้ำผึ้ง 7 สายต้น จากนั้นนำยอดพันธุ์ของทุกสายต้นมาขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอด จำนวน
สายต้นละ 20 ต้น เพื่อคัดเลือกในสภาพแปลงที่มีการระบาดของโรค พร้อมทั้งจัดส่งให้ศูนย์ต่างๆ ที่ร่วม
โครงการรวบรวมไว้ในแปลงศูนย์ละ 2 ต้น/สายต้น ประกอบด้วย ศวพ. แพร่ ศวส. เชียงราย และ
ศวส. ศรีสะเกษ ที่ศวส. เชียงราย พบว่า ส้มสายน้ำผึ้งสายต้นเอกลักษณ์ 1 และ ธนาแม่สาย 1 มีอาการ
โรคกรีนนิ่งน้อยมาก ขณะที่ส้มเขียวหวานสุโขทัยไม่มีอาการโรคกรีนนิ่ง ส่วนสายต้นอื่นๆ ทั้งส้มเขียวหวาน
และส้มสายน้ำผึ้งมีอาการโรคกรีนนิ่งตั้งแต่ระดับ 70 - 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ศรีสะเกษ ทุกต้นโทรมหมด
เนื่องจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2556 และในปี 2558 ศวส. ศรีสะเกษ สำรวจต้นส้มเปลือกล่อนที่มีลักษณะ
ทนทานโรคกรีนนิ่ง ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดขอนแก่น ไม่พบส้มเปลือกล่อนพันธุ์/ต้นใดที่มี
ลักษณะทนทานต่อโรคกรีนนิ่ง
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
คัดเลือกต้นส้มพันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะต้านทานโรคกรีนนิ่งในการทดลองต่อไป ซึ่งจะดำเนินการ
ในปีงบประมาณ 2558 – 2563
___________________________________________
1/ สำนักผู้เชี่ยวชาญ
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน
3/ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
4/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่
1084