Page 1186 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1186

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชหัว
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาการผลิตมันเทศ

                       3. ชื่อการทดลอง             การศึกษา จำแนกลักษณะพันธุกรรมโดยสัณฐานวิทยาของมันเทศ

                                                   ในแปลงรวบรวมพันธุ์ (Ex situ)
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ณรงค์  แดงเปี่ยม             ดรุณี  สมณะ 1/
                                                                  1/
                                                                   1/
                                                   อนุรักษ์  สุขขารมย์          ทวีป  หลวงแก้ว 1/
                                                   เสงี่ยม  แจ่มจำรูญ           วราพงษ์  ภิระบรรณ์ 1/
                                                                   1/
                                                   มนัสชญา  สายพนัส 1/

                       5. บทคัดย่อ

                              การจำแนกลักษณะพันธุกรรมมันเทศ มันเทศเป็นพืชหัวล้มลุก ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
                       และมีการแพร่กระจายอยู่ในเขตร้อน และกึ่งร้อนทั่วโลก ทั้งพันธุ์พื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น แต่ละประเทศ

                       แต่ละทวีป และพันธุ์ที่นักปรับปรุงพันธุ์ของแต่ละประเทศ ปรับปรุงหรือสร้างพันธุ์ขึ้นมาใหม่ มันเทศที่อายุ
                       ตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 90 - 180 วัน แตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ซึ่งเมื่อปลูกมันเทศแต่ละพันธุ์

                       ลงแปลงแล้ว ถ้าไม่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามกำหนดหัวมันเทศแต่ละพันธุ์อาจจะถูกแมลงศัตรูทำลาย
                       หรือหัวมันเทศอาจจะเน่าเสีย และตายได้ ซึ่งถ้าหากไม่มีการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมมันเทศไว้ หรือ

                       บางแห่งมีโรคและแมลงศัตรูมันเทศระบาดมากผิดปกติ หรือเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วมติดต่อกัน

                       เป็นเวลานาน อาจมีผลให้มันเทศอาจจะสูญพันธุ์ได้ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการรวบรวมและ
                       อนุรักษ์พันธุ์มันเทศพันธุ์พื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น แต่ละภูมิภาคของแต่ละประเทศ ตลอดทั้งพันธุ์ที่

                       ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ และพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศให้เข้ามาอยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อสะดวก

                       ในการจัดการดูแลรักษาพันธุ์มันเทศและยังสามารถใช้เป็นต้นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ในการปรับปรุงพันธุ์มันเทศ
                       เพื่อให้ได้มันเทศพันธุ์ใหม่ตามแต่ละวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ และเป็นแหล่งเชื้อพันธุ์มันเทศ

                       สำหรับการแลกเปลี่ยนความหลากหลายทางชีวภาพของมันเทศระหว่างหน่วยงานและระหว่างประเทศ

                       ต่อไป
                              ทำการสำรวจและรวบรวมพันธุ์มันเทศจากแหล่งต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและจากต่างประเทศ

                       รวมทั้งสิ้น 527 พันธุ์ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร เป็นพันธุ์มันเทศของไทย 358 พันธุ์
                       ซึ่งจำแนกตามรายภาคดังนี้ เป็นมันเทศพื้นเมืองภาคเหนือ 80 พันธุ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 51 พันธุ์

                       ภาคตะวันออก 4 พันธุ์ ภาคกลาง 27 พันธุ์ ภาคใต้ 20 พันธุ์ และเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ 176 พันธุ์

                       และพันธุ์มันเทศจากต่างประเทศ 169 พันธุ์ จำแนกตามประเทศต่างๆ ดังนี้ จาก สหรัฐอเมริกา 1 พันธุ์
                       บังคลาเทศ 1 พันธุ์ จีน 2 พันธุ์ ไต้หวัน 6 พันธุ์ ญี่ปุ่น 21 พันธุ์ เปรู 14 พันธุ์ ออสเตรเลีย 5 พันธุ์ ลาว 3 พันธุ์

                       เกาหลีใต้ 2 พันธุ์ และฟิลิปปินส์ 114 พันธุ์ ปลูกในวงบ่อซีเมนต์ขนาด 60 x 60 เซนติเมตร


                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร


                                                          1119
   1181   1182   1183   1184   1185   1186   1187   1188   1189   1190   1191