Page 1228 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1228
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชผัก
2. โครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์พืชผักสวนครัว
3. ชื่อการทดลอง การคัดเลือกพันธุ์กะเพราที่ให้น้ำมันหอมระเหยสูง
Selection for High Volatile Oil Content of Holly Basil
(Ocimum sanctum)
4. คณะผู้ดำเนินงาน วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ เพทาย กาญจนเกษร 2/
1/
5. บทคัดย่อ
การคัดเลือกพันธุ์กะเพราที่ให้น้ำมันหอมระเหยสูง ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557
ถึงกันยายน 2558 โดยนำกิ่งสดของกะเพราจำนวน 15 สายพันธุ์ ที่ปลูกไว้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร
นครปฐม ไปวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันหอมระเหยโดยใช้วิธี Water Distillation Method โดยแต่ละตัวอย่าง
ทำ 3 ซ้ำ จากการวิเคราะห์พบว่า ปริมาณน้ำมันหอมระเหยของกะเพราอยู่ระหว่าง 0.12 - 0.4 เปอร์เซ็นต์
โดยในจำนวนนี้มีกะเพราอย่างน้อย 4 ตัวอย่างที่มีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูง ตั้งแต่ 0.29 - 0.4 เปอร์เซ็นต์
น้ำหนักสด ส่วนใหญ่เป็นกะเพราพันธุ์พื้นบ้านหรือกะเพราป่า ที่บริเวณที่ทำการรวบรวมมักเป็นชายป่า
และเป็นกะเพราที่มีกลิ่นหอมเมื่อนำมาประกอบอาหาร ซึ่งปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่วิเคราะห์ได้นี้
เป็นน้ำมันหอมระเหยรวม ยังไม่ได้วิเคราะห์หาสารสำคัญ
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
นำไปพัฒนาต่อให้ได้พันธุ์กะเพราเพื่อผลิตน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรด้านอื่นๆ
และศึกษาเพื่อให้ได้วิธีการปลูกที่ยังสามารถคงคุณสมบัติที่มีกลิ่นหอมตามเดิมได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ
เกษตรกรผู้ปลูกผักแบบผสมผสาน และผู้ผลิตผักอินทรีย์ และอุตสาหกรรมยา
___________________________________________
1/ สถาบันวิจัยพืชสวน
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม 1161