Page 1233 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1233
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย วิจัยบริบทการแข่งขันเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพืชผักเศรษฐกิจ
ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ชื่อการทดลอง การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของหอมแดง
4. คณะผู้ดำเนินงาน ปฏิพัทธ์ ใจปิน นัด ไชยมงคล 2/
1/
เกษมศักดิ์ ผลากร จันทรา บดีศร 4/
3/
5. บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของหอมแดง ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา และ
เชียงใหม่ สำรวจและสัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 173 ราย ระหว่างเดือนตุลาคม 2556
ถึงตุลาคม 2558 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบการเปิดการค้าตลาดอาเซียนของเกษตรกรผู้ปลูก
หอมแดงในภาคเหนือของประเทศไทย และใช้เป็นข้อสนเทศในการพัฒนางานวิจัย เพิ่มศักยภาพการผลิต
และประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสมต่อเกษตรกร เพื่อรองรับการแก้ปัญหาเนื่องจากการเปิดการค้า
ตลาดอาเซียน
จากข้อมูล พบว่า มูลค่าการนำเข้าหอมแดงในภูมิภาคอาเซียนเฉลี่ย 3 ปี (2556 - 2558) มีอัตราเพิ่ม
ลดลง ร้อยละ 99.93 และมูลค่าการส่งออกหอมแดงในภูมิภาคอาเซียนเฉลี่ย 3 ปี (2556 - 2558) มีอัตราเพิ่ม
ลดลง ร้อยละ 76.75 จากการวิเคราะห์ Thailand Competitiveness Matrix (TCM) อยู่ในช่วง Trouble
โดยเปรียบเทียบศักยภาพการผลิตหอมแดง มีค่าความสัมพันธ์ Attractiveness เท่ากับ -76.75 และค่า
ความสัมพันธ์ Competitiveness เท่ากับ 56.25 ถึงแม้เกษตรกรมีประสบการณ์ในการผลิตสูง พื้นที่ปลูก
และสภาพภูมิอากาศในการผลิตเหมาะสม แต่ก็มีข้อเสียเปรียบในด้านต้นทุนการผลิตที่สูง และมีปัญหา
ด้านการตลาดในเรื่องราคาไม่แน่นอน เนื่องจากพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคา
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบของการผลิตและการแปรรูปพืชผักเศรษฐกิจของ
เกษตรกร
2. ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ TCM ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวางแผนงานวิจัย งานพัฒนา
และงานทดสอบ ได้ตรงตามความต้องการที่แท้จริง
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย
3/ สถาบันวิจัยพืชสวน
4/ กองแผนงานและวิชาการ
1166