Page 1236 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1236
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย บริบทการแข่งขันเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพืชผักเศรษฐกิจ
ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ชื่อการทดลอง วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันพริกขี้หนู
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ธัญพร งามงอน จิตอาภา จิจุบาล 1/
1/
เยาวภา เต้าชัยภูมิ อุทัยวรรณ ทรัพย์แก้ว 2/
เกษมศักดิ์ ผลากร ชลธิชา เตโช 3/
2/
5. บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันพริกขี้หนูภาคเหนือรองรับการเปิดตลาดอาเซียน ดำเนินการ
จากกลุ่มตัวอย่าง เกษตรกรผู้ผลิตพริกขี้หนูในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตาก และเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์
เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบการเปิดการค้าตลาดอาเซียนกับเกษตรกรผู้ปลูกพริกในเขตภาคเหนือ
และใช้เป็นข้อสนเทศในการพัฒนา การวิจัย เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสม
ต่อเกษตรกร เพื่อรองรับการแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากการเปิดการค้าตลาดอาเซียน จำนวน 322 ราย
ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงกันยายน 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยการใช้
แบบสอบถามจากเกษตรกรผู้ปลูกพริก ผลการดำเนินงานพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกพริกขี้หนู ส่วนใหญ่เป็น
เพศชาย ร้อยละ 65.21 อายุเกษตรกรผู้ปลูกพริกส่วนใหญ่ อายุเฉลี่ย 48 - 58 ปี รองลงมาอายุเฉลี่ย
29.20 ปี สถานภาพส่วนใหญ่เป็นเจ้าของสวนพริกเอง ร้อยละ 92.54 เป็นสมาชิก GAP ร้อยละ 69.87
พริกที่เกษตรกรนิยมปลูกส่วนใหญ่นิยมปลูกพริกลูกผสมพันธุ์ แหล่งที่มาของพันธุ์ส่วนใหญ่ซื้อจากร้านค้า
และเก็บพันธุ์เอง ฤดูปลูกโดยจะเริ่มเพาะกล้าช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน เก็บผลผลิตช่วงเดือนกรกฎาคม
ราคาที่เกษตรกรขายได้ราคา 21 - 25 บาทต่อกิโลกรัม รูปแบบการขาย ส่วนใหญ่เกษตรกรขายทั้งในรูป
พริกสด และพริกแห้ง ค่าแรงในการผลิตมากกว่า 14,000 บาท/ฤดูการผลิต มีต้นทุนรวมต่อไร่สูงสุด
16,001 - 18,000 บาท ส่วนใหญ่มีต้นทุนผันแปรต่อกิโลกรัมอยู่ระหว่าง 11 - 15 บาท ผลผลิตต่อไร่
ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 1,501 - 2,000 กิโลกรัม ผลตอบแทนทั้งหมดส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 10,000 - 19,999 บาท
และ 20,000 - 29,999 บาท ผลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการปลูกพริก และ
ผลตอบแทนจากการปลูกพริก พบว่าต้นทุนทั้งหมดของพริกฤดูแล้ง เท่ากับ 19,462.45 บาท พริกฤดูฝน
เท่ากับ 13,445.67 บาท ส่วนผลตอบแทนในการผลิต พบว่า ผลตอบแทนสุทธิได้จาการขายพริก ฤดูแล้ง
มีผลตอบแทนสุทธิเท่ากับ 2,285.44 บาท่อไร่ ส่วนพริกฤดูฝน มีผลตอบแทนสุทธิเท่ากับ 5,293.88 บาทต่อไร่
ปัญหาที่พบและสำคัญในพื้นที่ คือ สารเคมี และ ปุ๋ยเคมีที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาแพง ทำให้
ต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรยังไม่เห็นประโยชน์และความสำคัญของการรวมกลุ่มส่งผลไปยังอำนาจในการ
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์
2/ สถาบันวิจัยพืชสวน
3/ กองแผนงานและวิชาการ
1169