Page 123 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 123

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          การปรับปรุงพันธุ์ยางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

                       2. โครงการวิจัย             ปรับปรุงพันธุ์ยางให้เหมาะสมกับพื้นที่กึ่งแห้งแล้ง

                       3. ชื่อการทดลอง             การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลายชุด RRIT 400 (RRI-CH 35 /2/5)
                                                   Large Scale Clone Trail of RRIT 400 (RRI-CH 35/2/5)

                                                                      1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          กรรณิการ์  ธีระวัฒนสุข      อารดา  มาสริ 2/
                                                                    2/
                                                   เชาวนาถ  พฤทธิเทพ           จิราลักษณ์  ภูมิไธสง 2/
                                                   ปวีณา  ไชยวรรณ์
                                                                  2/
                       5. บทคัดย่อ
                               การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลายชุด RRIT 400 (RRI-CH 35 /2/5) วัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือก

                       พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เริ่มดำเนินงานเปรียบเทียบพันธุ์ยาง

                       ขั้นปลาย ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ปี 2548 จำนวน 22 สายพันธุ์/พันธุ์ ได้แก่สายพันธุ์ RRI-CH35-895,
                       RRI-CH35-546, RRI-CH35-1385, No. 7 B6/2529, No. 15A12/2530, RRI-CH35-1098, RRI-CH35-1403,

                       RRI-CH35-427, RRI-CH35-1372, RRI-CH35-1486, RRI-CH35-1397, RRI-CH35-1747, RRI-CH35-1461,
                       RRI-CH35-1257, No. 24A65/2530, RRIT 251, RRI-CH35-1396, RRI-CH35-1602, PB 260, RRIM 600,

                       RRI-CH35-1292 และสายพันธุ์ No. 6 B5/2529 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete

                       Block Design 3 ซ้ำ ๆ ละ 60 ต้นต่อแปลงย่อย ผลการศึกษาการเจริญเติบโตในด้านขนาด เส้นรอบวง
                       ลำต้นที่ระดับ 170 เซนติเมตรจากพื้นดิน ปี 2554 - 2558 เมื่อยางพาราอายุ 9.6 ปี พบว่า สายพันธุ์

                       ยางพารามีการเจริญเติบโตทางด้านขนาดเส้นรอบวงลำต้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสายพันธุ์

                       RRI-CH35-1486 และ RRI-CH35-1292 มีการเจริญเติบโตดี ให้ขนาดเส้นรอบวงลำต้นสูงสุด 50.0 เซนติเมตร
                       สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ RRIM 600 และพันธุ์ PB 260 (44.3 เซนติเมตร) เท่ากับ 18 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่

                       สายพันธุ์ RRI-CH35-1098 ให้ขนาดเส้นรอบวงลำต้นต่ำที่สุด 26.8 เซนติเมตร สำหรับผลผลิตเนื้อยางแห้ง
                       (กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด) พบว่า มี 14 สายพันธุ์ ได้แก่ NO 7 B6/2529, RRI-CH35-427, RRI-CH35-1257,

                       NO  15A12/2530,  RRI-CH35-1486,  RRI-CH35-1747,  RRI-CH35-1396,  RRI-CH35-1372,

                       RRI-CH35-1292, RRI-CH35-1403, NO 6 B5/2529, RRI-CH35-1602, NO 24 A65/2530 แ ล ะ
                       RRI-CH35-1292 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยระหว่าง 13.2 - 35.6 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ

                       คือ RRIM 600 RRIT 251 และ PB 260 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยระหว่าง 8.7 - 13.0 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด
                       โดยสายพันธุ์ NO 7 B6/2529 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 35.6 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีดสูงสุด

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                               สายพันธุ์ยางจำนวน 4 สายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดีกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ และให้ผลผลิตสูง
                       ในเขตกึ่งแห้งแล้ง



                       __________________________________________
                       1/ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
                       2/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท
                                                           56
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128