Page 128 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 128
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาลักษณะทางการเกษตรของอ้อยโคลนดีเด่น : การเติบโตและการ
สะสมน้ำตาล
Study on Agronomic Characteristics of Elite Sugarcane
Clone : Growth and Sugar Accumulation
1/
4.คณะผู้ดำเนินงาน ปรีชา กาเพ็ชร ทักษิณา ศันสยะวิชัย 1/
วีระพล พลรักดี ภาคภูมิ ถินคำ 1/
1/
5. บทคัดย่อ
ดำเนินการที่แปลงทดลองศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ในปี 2554-2558 ปลูกอ้อยพันธุ์ก้าวหน้า
จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ KK04-066, KK04-080 และ TPJ04-713 ปลูกอ้อยเป็นหลุม หลุมละ 2 ท่อนๆ ละ
2 ตา ระยะปลูก 120 x 50 เซนติเมตร ปลูก 22 ธันวาคม 2554 บันทึกข้อมูลการเติบโต ผลผลิต และการ
สะสมน้ำตาล เก็บเกี่ยวอ้อยปลูก เดือนกุมภาพันธุ์ 2556 อ้อยตอ 1 กุมภาพันธ์ 2557 และอ้อยตอ 2
กุมภาพันธ์ 2558 พบว่า ในอ้อยปลูก อ้อยพันธุ์ KK04-066 มีอัตราการสร้างใบเฉลี่ยตลอดฤดูปลูกดีที่สุด
เท่ากับ 0.11 ใบต่อวัน แตกต่างกันในทางสถิตกับอ้อยพันธุ์ KK04-080 และ TPJ04-713 ที่มีอัตราการ
สร้างใบเฉลี่ยเท่ากับ 0.09 และ 0.08 ใบต่อวัน ตามลำดับ ขณะที่การเพิ่มความสูง อ้อยพันธุ์ KK04-080
มีอัตราการเพิ่มความสูงเฉลี่ยตลอดฤดูปลูกดีที่สุด เท่ากับ 1.4 เซนติเมตรต่อวัน โดยที่พันธุ์ KK04-066
และ TPJ04-713 มีอัตราการเพิ่มความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 1.2 และ 1.1 เซนติเมตรต่อวัน ตามลำดับ ส่วนการ
สะสมน้ำตาลของอ้อยพันธุ์ TP04-066 และ 04-080 สะสมน้ำตาลได้ไม่แตกต่างกันในทางสถิติและเร็ว
กว่าพันธุ์ TPJ04-713 เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต พบว่า อ้อยทั้ง 3 พันธุ์ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน เท่ากับ 14.2,
14.1 และ 15.3 ตันต่อไร่ ของอ้อยพันธุ์ KK04-066, KK04-080 และ TPJ04-713 ตามลำดับ โดยผลผลิต
มีความสัมพันธ์กับจำนวนลำต่อไร่มากกว่าองค์ประกอบของผลผลิตอื่นๆ ในอ้อยตอ 1 และ ตอ 2 ให้ผล
การทดลองสอดคล้องกัน พบว่า มีอัตราการเพิ่มความสูง 0.9-1.0 เซนติเมตรต่อวัน และมีอัตราการสร้าง
ใบ 0.11-0.15 ใบต่อวัน โดยพันธุ์ KK04-066 และ TPJ04-713 มีอัตราการสร้างใบและความสูงใกล้เคียง
กันและสูงกว่าพันธุ์ KK04-080 ส่วนผลผลิตพบว่าพันธุ์ TPJ04-713 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื่องจาก
มีจำนวนลำเก็บเกี่ยวสูงกว่า ในปี 2558 ได้ปลูกอ้อยพันธุ์ KK07-050 และพันธุ์ KK07-037 ในวันที่ 2
เมษายน 2558 ระยะระหว่างหลุม 50 เซนติเมตร และระหว่างแถว 120 เซนติเมตร จำนวน 4 ซ้ำ
เก็บการเติบโตโดยวัดความสูง จำนวนใบบนลำหลัก จำนวนใบเขียวบนลำหลัก และจำนวนลำต่อกอ
ทุกๆ 30 วัน และหาค่า CCS ทุกๆ 14 วัน ตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน เป็นต้นไป เก็บผลผลิตในวันที่ 15
เดือนมกราคม 2559 โดยเก็บผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต ในพื้นที่ 18 ตารางเมตร ผลการทดลอง
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
61