Page 132 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 132

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                       3. ชื่อการทดลอง             การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร : โคลนอ้อยชุด 2548 เพื่อผลผลิตสูง
                                                   และไว้ตอได้ดี

                                                   Farm Trial : Sugarcane Series 2005 for High Yield and Good

                                                   Ratooning Ability
                                                                1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          วีระพล  พลรักดี             ทักษิณา  ศันสยะวิชัย 1/
                                                   อัมราวรรณ  ทิพยวัฒน์ 1/
                       5. บทคัดย่อ

                               การเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกร โคลนอ้อยชุด 2548 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ

                       9 พันธุ์/โคลน ใช้พันธุ์ขอนแก่น 3 และ เค88-92 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ขนาดของแปลงทดลองย่อย 4
                       แถวๆ ยาว 8 เมตร เก็บเกี่ยว 2 แถวกลาง ดำเนินการทดลองจำนวน 3 แปลง ที่อำเภอชุมแพ จังหวัด

                       ขอนแก่น อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา จากการประเมินผลผลิตใน
                       อ้อยปลูกและตอ 1 ได้คัดเลือกไว้ 2 โคลนคือ KK07-037 และ KK07-050 เพื่อนำไปประเมินผลผลิตในไร่

                       เกษตรกรเพิ่ม อ้อยทั้งสองโคลนนี้ ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยในอ้อยปลูก 18.6 และ 17.2 ตันต่อไร่ ในอ้อยตอ 1

                       13.7 และ 9.7 ตันต่อไร่ ตามลำดับ ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยในอ้อยปลูกและตอ 1 15.6 และ
                       11.6 ตันต่อไร่ ตามลำดับ ให้ผลผลิตน้ำเฉลี่ยในอ้อยปลูก 2.05 และ 2.01 ตันต่อไร่ ในอ้อยตอ 1 1.45

                       และ 1.0 ตันต่อไร่ ตามลำดับ ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยในอ้อยปลูกและตอ 1 2.23 และ 1.29

                       ตันต่อไร่ ตามลำดับ ให้ค่าความหวานเฉลี่ยในอ้อยปลูก 11.11 และ 11.66 ซีซีเอส ในอ้อยตอ 1 10.30
                       และ 10.25 ซีซีเอส ตามลำดับ ขอนแก่น 3 ให้ค่าความหวาน ในอ้อยปลูกและตอ 1 เท่ากับ 14.40 และ

                       10.95 ซีซีเอส ตามลำดับ มีจำนวนหลุมเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกับขอนแก่น 3 ทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1
                       แต่มีจำนวนลำเก็บเกี่ยวมากกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 เนื่องจากว่าอ้อยทั้ง 2

                       โคลนนี้แตกกอดีกว่าขอนแก่น 3 ลำมีขนาดเล็กกว่า มีความยาวลำมากกว่า KK07-037 มีน้ำหนักต่อลำ

                       ใกล้เคียงกับขอนแก่น 3 แต่ KK07-050 มีน้ำหนักต่อลำน้อยกว่าขอนแก่น 3
                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                               อ้อยทั้งสองโคลนที่คัดเลือกไว้ จะนำไปประเมินผลผลิตในไร่เกษตรกรเพิ่ม เพื่อเก็บข้อมูลการให้
                       ผลผลิตในสภาพแวดล้อมที่มากขึ้น








                       ___________________________________________
                        ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
                       1/

                                                           65
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137