Page 130 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 130
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ชื่อการทดลอง การศึกษาลักษณะทางการเกษตรของอ้อยโคลนดีเด่น : 2) การตอบสนอง
ต่อระยะปลูก
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ทักษิณา ศันสยะวิชัย วีระพล พลรักดี 1/
5. บทคัดย่อ
เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการขอรับรองพันธุ์อ้อยพันธุ์ใหม่ ในช่วงของโครงการวิจัยและ
พัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2554 - 2557 ศึกษากับอ้อยพันธุ์ 95-2-213 แผนการ
ทดลอง RCB 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 ระยะปลูก คือ 1) แถวเดี่ยวระยะห่าง 0.8 เมตร 2) แถวเดี่ยว
ระยะห่าง 1 เมตร 3) แถวเดี่ยวระยะห่าง 1.2 เมตร 4) แถวคู่ ระยะห่างในคู่และระหว่างคู่ 0.4-1.2
5) แถวคู่ ระยะห่างในคู่และระหว่างคู่ 0.4-1.6 เมตร 6) แถวคู่ ระยะห่างในคู่และระหว่างคู่ 0.4-2.0 เมตร
ปลูกด้วยท่อนพันธุ์ 3 ตา วางท่อนคู่ ระยะระหว่างหลุม 0.5 เมตร แปลงย่อยละ 6 แถว แถวยาว 6 เมตร
ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปลูกเมื่อวันที่ 8
พฤศจิกายน 2554 เก็บเกี่ยว 16 มกราคม 2556 กรรมวิธีที่ 6 มีความงอกไม่ดีอยู่ 2 ซ้ำ จึงไม่นำมา
วิเคราะห์ข้อมูล พบว่าระยะแถว 0.8 1.0 และ 1.2 เมตร จัดเป็นแถวเดี่ยวหรือแถวคู่ อ้อยพันธุ์ 95-2-213
ให้ผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ำตาลไม่แตกต่างกันทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ
ปี 2555 - 2557 ศึกษากับอ้อยพันธุ์ KK04-066 และ KK04-080 แผนการทดลอง RCB 4 ซ้ำ
ประกอบด้วย 6 ระยะปลูก เช่นเดียวกัน ปลูกด้วยต้นกล้าจากการชำข้อ 1 ตา ระยะระหว่างหลุม 0.5 เมตร
แปลงย่อยละ 6 แถว แถวยาว 6 เมตร ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ตำบลศิลา อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น ปลูกเมื่อวันที่ 12-17 พฤศจิกายน 2555 เก็บเกี่ยว 22-23 มกราคม 2557 พบว่า
เนื่องจากความแห้งแล้งจึงได้ผลผลิตต่ำมาก พันธุ์ KK04-066 การปลูกด้วยระยะแถวคู่ 0.4-2.0 เมตร
มีจำนวนต้นเก็บเกี่ยวต่ำกว่าระยะแถวแคบ 0.8 เมตร และได้ผลผลิตอ้อย (4.7-6.9 ตันต่อไร่) และผลผลิต
น้ำตาล (0.6-0.8 ตันต่อไร่) ต่ำกว่าแต่ไม่แตกต่างทางสถิติ พันธุ์ KK04-080 แสดงผลกระทบจากความ
แห้งแล้งมาก ได้ผลผลิตต่ำมาก เพียง 3.5 ตันต่อไร่มีความแปรปรวนสูงไม่สามารถอธิบายผลได้
ปี 2557 - 2558 ศึกษาพันธุ์ KK07-037 และ KK07-750 แผนการทดลอง RCB 4 ซ้ำ ประกอบด้วย
6 ระยะปลูก เช่นเดียวกัน ปลูกด้วยต้นกล้าจากการชำข้อที่มีอายุ 2 เดือน พันธุ์ KK07-037 ปลูกเมื่อ 10-11
เมษายน 2557 และพันธุ์ KK07-750 ปลูกเมื่อวันที่ 5 และ 8 เมษายน 2557 เก็บเกี่ยวในเดือนมีนาคม
2558 พันธุ์ ทั้ง 2 พันธุ์ ผลผลิตมีความสัมพันธ์กับจำนวนลำเก็บเกี่ยว โดยจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อมีลำ
เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ระยะปลูกถี่จึงให้ผลผลิตสูงกว่าระยะปลูกห่าง แต่การปลูกแถวคู่ทำให้การแตกกอลดลง
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการขอรับรองพันธุ์ใหม่
__________________________________________
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
1/
63