Page 137 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 137
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ชื่อการทดลอง การคัดเลือกโคลนอ้อยชุด 2552 เพื่อผลผลิตสูง และไว้ตอได้ดี
Selection of Sugarcane Series 2009 for High Yield and Good
Ratooning Ability
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน วีระพล พลรักดี อัมราวรรณ ทิพยวัฒน์ 2/
5. บทคัดย่อ
โคลนอ้อยชุด 2552 มีทั้งสิ้น 92 คู่ผสม 6,453 ต้น ดำเนินการคัดเลือก 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1
คัดกอ ขั้นที่ 2 คัดแถว และขั้นที่ 3 คัดแถวในอ้อยปลูกและอ้อยตอ ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่
ขอนแก่น ลูกผสมชุด 2552 แยกเป็นลูกผสมระหว่างอ้อยกับอ้อย 23 คู่ผสม 878 ต้น จากการคัดเลือก
จนถึงขั้นที่ 3 คัดไว้เพียง 2 โคลน จากคู่ผสมของ Co6304/UT4 และ CP43-33/KK05-707 เป็นลูกผสม
ระหว่างอ้อยกับพงมี 5 คู่ผสม 206 ต้น จากการคัดเลือกจนถึงขั้นที่ 3 คัดไว้เพียง 7 โคลน จากคู่ผสมของ
UT5/ThS98-97 เป็นลูกผสมกลับครั้งที่ 1 ของลูกผสมระหว่างอ้อยกับพงมี 1,938 ต้นจาก 20 คู่ผสม
จากการคัดเลือกจนถึงขั้นที่ 3 คัดไว้เพียง 16 โคลน จาก 6 คู่ผสม 95-2-317/F03-334 คัดไว้มากที่สุด 10
โคลน และเป็นลูกผสมกลับครั้งที่ 2 ของลูกผสมระหว่างอ้อยกับพงมี 3,431 ต้นจาก 45 คู่ผสม จากการ
คัดเลือกจนถึงขั้นที่ 3 คัดไว้เพียง 21 โคลน จาก 5 คู่ผสม BC04-521/UT4 คัดไว้มากที่สุด 15 โคลน
ลูกผสมที่คัดเลือกไว้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ให้ผลผลิตอ้อยและค่าซีซีเอสสูง นำไปประเมินผลผลิตเพื่อ
ผลิตน้ำตาล กลุ่มที่ให้ผลผลิตอ้อยสูงและค่าซีซีเอสปานกลาง นำไปประเมินผลผลิตเพื่อผลิตน้ำตาลและ
ชานอ้อย และกลุ่มที่ให้ผลผลิตอ้อยสูงแต่ค่าซีซีเอสต่ำ นำไปประเมินผลผลิตเพื่อผลิตชีวมวลและอาหารสัตว์
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ลูกผสมที่คัดเลือกไว้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ให้ผลผลิตอ้อยและค่าซีซีเอสสูง นำไปประเมิน
ผลผลิตเพื่อผลิตน้ำตาล กลุ่มที่ให้ผลผลิตอ้อยสูงและค่าซีซีเอสปานกลาง นำไปประเมินผลผลิตเพื่อผลิต
น้ำตาลและชานอ้อย และกลุ่มที่ให้ผลผลิตอ้อยสูงแต่ค่าซีซีเอสต่ำ นำไปประเมินผลผลิตเพื่อผลิตชีวมวล
และอาหารสัตว์
___________________________________________
1/ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
2/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
70