Page 1247 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1247

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          -
                       2. โครงการวิจัย             บริบทการแข่งขันเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพืชผักเศรษฐกิจ

                                                   ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                       3. ชื่อการทดลอง             การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของหน่อไม้ฝรั่ง
                                                   Analyze Competition Potentiality of Asparagus

                                                                    1/
                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           พีชณิตดา  ธารานุกูล          ศรีนวล  สุราษฎร์ 1/
                                                                 1/
                                                   ชูศักดิ์  แขพิมาย            นิชุตา  คงฤทธิ์ 1/
                                                   ฉัตรดาว  ดอกแขมกลาง          เพทาย  กาญจนเกษร 2/
                                                                       1/
                       5. บทคัดย่อ

                              การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของหน่อไม้ฝรั่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นข้อสนเทศในการ
                       พัฒนาการวิจัย เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสมต่อเกษตรกร เพื่อรองรับ

                       การแก้ปัญหาอันเนื่องจากการแข่งขันเชิงการค้าในตลาดอาเซียน วิธีวิจัยโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูก
                       หน่อไม้ฝรั่งในพื้นที่อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 58 ราย และเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง

                       อำเภอนามน และ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 17 ราย โดยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                       พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายใหม่ มีประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี การใช้เทคโนโลยีการผลิต

                       ได้รับมาจากเพื่อนเกษตรกร วงจรการผลิตหน่อไม้ฝรั่งเกษตรกรจะปลูกด้วยเมล็ด และจะเก็บเกี่ยวผลผลิต

                       หน่อไม้ฝรั่งหลังจากปลูกแล้วประมาณ 3 - 8 เดือน การให้ปุ๋ยจะให้ประมาณ 4 ครั้งต่อฤดูกาลปลูก ปุ๋ยที่ใช้
                       จะมีหลากหลายทั้งปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ตามที่เกษตรกรจะหาซื้อได้ การให้น้ำจะใช้น้ำบาดาล เก็บเกี่ยวโดยการ

                       ถอนหน่อ ในช่วงเวลาเช้าเท่านั้น ผลผลิตที่ได้จะนำมาล้างน้ำทำความสะอาด และคัดคุณภาพตามขนาด

                       และเกณฑ์ที่ผู้รับซื้อต้องการ หลังจากนั้นจะนำผลผลิตใส่ในลังพลาสติก แล้วส่งผลผลิตไปยังผู้รับซื้อหรือ
                       ขายทันที ศัตรูที่พบได้แก่ โรคแอนแทรคโนส หนอน และเพลี้ยไฟ การป้องกันกำจัดจะมีการใช้ทั้งสารเคมี

                       และชีวินทรีย์ ราคาขายผลผลิตขึ้นอยู่กับผู้รับซื้อ โดยช่วงเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนเมษายนจะเป็นช่วงที่

                       หน่อไม้ฝรั่งให้ผลผลิตมากที่สุด แต่ความต้องการผลผลิตมากที่สุดของตลาด คือช่วงเดือนธันวาคมไปจนถึง
                       เดือนกุมภาพันธ์ ส่วนปัญหาด้านการตลาดจะพบว่าเกษตรกรมีปัญหาด้านคุณภาพผลผลิตไม่ตรงตาม

                       ความต้องการของผู้รับซื้อ ต้นทุนการผลิตสูง โดยต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ คือ ค่าแรงงาน ค่าสารเคมี
                       ค่าปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อคิดภาพรวมทั้งหมดเกษตรกรผลิตหน่อไม้ฝรั่งได้กำไร คิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์

                       ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมด ส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปลูก

                       หน่อไม้ฝรั่งมานานหลายปี การใช้เทคโนโลยีการผลิตมาจากหน่วยงานราชการเป็นส่วนใหญ่ วงจรการผลิต
                       หน่อไม้ฝรั่งเกษตรกรจะปลูกด้วยเมล็ด และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งหลังจากปลูกแล้วประมาณ

                       3 - 4 เดือน การให้ปุ๋ยจะให้ประมาณ 1 - 4 ครั้งต่อฤดูกาลปลูก แล้วแต่ต้นทุนที่เกษตรกรมี การใช้ปุ๋ย


                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม
                                                          1180
   1242   1243   1244   1245   1246   1247   1248   1249   1250   1251   1252