Page 1252 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1252

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาหน่อไม้ฝรั่งและกระเจี๊ยบเขียว
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกระเจี๊ยบเขียว

                       3. ชื่อการทดลอง             การเปรียบเทียบพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวที่ต้านทานต่อโรคเส้นใบเหลือง

                                                   และฝักมีคุณภาพส่งออก
                                                   Comparison on Okra Promising Lines which Resistance to

                                                   Yellow Vein Disease and Exported Quality Pod

                                                                    1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          อำนวย  อรรถลังรอง            นันทนา  โพธิ์สุข 2/
                                                   ดรุณี  สมณะ                  สิทธิศักดิ์  แสไพศาล 4/
                                                              3/
                       5. บทคัดย่อ

                            การปลูกเปรียบเทียบพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวที่ต้านทานโรคเส้นใบเหลืองและฝักมีคุณภาพส่งออก
                       10 สายพันธุ์รวมกับพันธุ์ F1-1142 (พันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1, บริษัท ไดนามิคพันธุ์พืช) และ พิจิตร 03

                       (พันธุ์อ่อนแอ) วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ ปลูกทดสอบ 4 ครั้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน
                       2556 ถึงมีนาคม 2557, กรกฎาคม ถึงตุลาคม 2557, ธันวาคม 2557 ถึงพฤษภาคม 2588 และ เมษายน

                       ถึงสิงหาคม 2558 พบว่า กระเจี๊ยบเขียวที่ปลูกทดสอบให้ผลผลิตรวมและผลผลิตมาตรฐาน ความต้านทาน
                       ต่อโรคเส้นใบเหลืองแตกต่างกันทางสถิติ กระเจี๊ยบเขียว PC5706 ให้น้ำหนักฝักรวม 1,481.86 - 5,693.01

                       กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักมาตรฐาน 766.15 - 4,835.41 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานโรคเส้นใบเหลืองมากกว่า

                       90 เปอร์เซ็นต์ ที่จังหวัดพิจิตร แต่เกิดโรคไม่แน่นอนที่จังหวัดกาญจนบุรี ส่วน PC5707 ให้น้ำหนักฝักรวม
                       1,746.00 - 5,244.60 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักมาตรฐาน 1,117.10 - 4,123.40 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทาน

                       โรคเส้นใบเหลืองมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ที่จังหวัดพิจิตร แต่เกิดโรคไม่แน่นอนที่จังหวัดกาญจนบุรี และ

                       PC5709 ให้น้ำหนักฝักรวม 660.18 - 6,428.99 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักมาตรฐาน 637.33 - 2,944.43
                       กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานโรคเส้นใบเหลืองที่พิจิตร 76 - 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เกิดโรคไม่แน่นอนที่กาญจนบุรี

                       โดยทั้งหมดให้ผลผลิตรวมและผลผลิตมาตรฐานแตกต่างกันตามฤดูกาลที่ปลูก และการระบาดของโรค

                       เส้นใบเหลือง จึงคัดเลือกสายพันธุ์ดังกล่าวไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกรต่อไป

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              พัฒนาต่อ














                       ___________________________________________
                       1/ สถาบันวิจัยพืชสวน

                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี
                       3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
                       4/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขา       1185
   1247   1248   1249   1250   1251   1252   1253   1254   1255   1256   1257