Page 1271 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1271

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          -
                       2. โครงการวิจัย             การวิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน

                       3. ชื่อการทดลอง             การศึกษาความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อรา และสารพิษจากเชื้อรา

                                                   ของผลผลิตชาน้ำมันในขบวนการหลังการเก็บเกี่ยว
                                                   Study on Risk of Fungal and Mycotoxins Contamination in

                                                   Oil - Tea Camellia Seed in Postharvest Process

                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           บุญญวดี  จิระวุฒิ            อัฉราพร  ศรีจุดานุ 1/
                                                                  1/
                       5. บทคัดย่อ

                              ศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อราและสารพิษจากเชื้อราในเมล็ดชาน้ำมัน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ

                       เมล็ดชาน้ำมันจากผลสด เมล็ดชาน้ำมันก่อนนำไปหีบน้ำมัน เป็นเวลา 1 และ 2 วัน และเมล็ดชาน้ำมัน
                       จากผลเสีย พบการปนเปื้อนของเชื้อราบนเมล็ดชาน้ำมันจากผลเสีย คือ Lasiodiplodia sp., Fusarium sp.,

                       Pestalotiopsis sp., Aspergillus niger และ Aspergillus flavus เมื่อนำเมล็ดชาน้ำมันมาตรวจการ
                       ปนเปื้อนของสาร Aflatoxin B1 และสาร Ochratoxin A พบว่าเมล็ดชาน้ำมันจากผลเสียมีการปนเปื้อน

                       ของสารพิษจากเชื้อราปริมาณสูงที่สุด มีปริมาณ Aflatoxin b1 39.8 ppb และปริมาณ Ochratoxin A
                       11.8 ppb ซึ่งสอดคล้องกับการพบ Aspergillus flavus และ Aspergillus niger บนเมล็ดชาน้ำมัน

                       จากผลเสีย

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              จากข้อมูลที่ทำการศึกษาได้แนะนำเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการปนเปื้อนของ

                       เชื้อรา และสารพิษ ว่าควรจะมีการตากเมล็ดให้แห้งก่อนบรรจุถุงนำส่งโรงงาน เนื่องจากเมล็ดชาน้ำมันแก่

                       ไม่พร้อมกัน มีการทยอยเก็บผลผลิตให้มากพอถึงจะนำส่งโรงงาน ดังนั้นช่วงระยะเวลารอการนำส่ง
                       เกษตรกรควรนำผลผลิตมาตากเพื่อลดความชื้นในเบื้องต้น และควรจัดทำโรงเรือนที่ตากเมล็ดให้มีความสูง

                       จากพื้นประมาณ 1 เมตร พร้อมมุงหลังคาพลาสติกเพื่อกันฝน และน้ำค้าง และช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิต

                       ของปี 2556 ที่หมู่บ้านบางปะหัน พบว่า เกษตรกรได้สร้างโรงเรือน ขนาดใหญ่ตามคำแนะนำ สำหรับตาก
                       เมล็ดชาน้ำมันหลังเก็บเกี่ยว ก่อนนำส่งโรงงานเรียบร้อย ผลผลิตชาน้ำมัน ทำให้เมล็ดชาน้ำมันมีความชื้น

                       ลดลง และไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราเลย ทำให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเมล็ดชามีคุณภาพ
                       ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค













                       _______________________________________________

                       1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร


                                                          1204
   1266   1267   1268   1269   1270   1271   1272   1273   1274   1275   1276