Page 1275 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1275

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          -
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น

                       3. ชื่อการทดลอง             การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์องุ่นเพื่อใช้เป็นต้นตอ

                                                   Collection and Conservation of Grapevine Rootstock
                                                                   1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          อรรถพล  รุกขพันธ์            ธวัชชัย  นิ่มกิ่งรัตน์ 1/
                                                   สุภัทรา  เลิศวัฒนาเกียรติ 2/

                       5. บทคัดย่อ
                              การรวบรวมต้นพันธุ์องุ่นที่ใช้สำหรับเป็นต้นตอมาปลูกในสภาพแปลงที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

                       ปี 2553 - 2558 ทำการประเมินการเจริญเติบโตทางลำต้น การทนทานต่อสภาพแวดล้อม และโรค

                       แมลงศัตรูองุ่น พบว่าองุ่นต้นตอแต่ละพันธุ์มีการตอบสนองไม่เหมือนกัน โดยองุ่นพันธุ์ 5BB  Brazil IAC 572
                       และ Harmony มีการเจริญเติบโตทางลำต้นดีที่สุดและมีค่าดัชนีพื้นที่ใบมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ องุ่น

                       พันธุ์ 1613C  Brazil IAC 572 และ Harmony สามารถออกดอกติดผลและพัฒนาจนสุกแก่และมีความ
                       ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส (Sphaceloma sp.) ราน้ำค้าง (Plasmopara viticola)

                       และ ราสนิม (Physopella ampelopsidis) มากที่สุด ในขณะที่พันธุ์ Teleki 5C  Ruggeri  Ramsey
                       และ 1103 Paulsen มีการเจริญเติบโตทางลำต้น การทนทานต่อสภาพแวดล้อมและการเข้าทำลายของ

                       โรคศัตรูองุ่นได้น้อยกว่าทุกพันธุ์

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              ได้ข้อมูลการเจริญเติบโต การออกดอกและพัฒนาเป็นผล ความทนทานต่อสภาพแวดล้อมในเขต

                       พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และความรุนแรงของโรคและแมลงศัตรูองุ่นที่เข้าทำลายองุ่น

                       พันธุ์สำหรับใช้เป็นต้นตอ เพื่อนำข้อมูลไปประเมินคัดเลือกพันธุ์ที่จะนำไปพัฒนาปรับใช้เป็นต้นตอของ
                       องุ่นพันธุ์ดีในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม






















                       ___________________________________________
                       1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

                       2/ สถาบันวิจัยพืชสวน
                                                          1208
   1270   1271   1272   1273   1274   1275   1276   1277   1278   1279   1280