Page 1279 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1279

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          -
                       2. โครงการวิจัย             การแปรรูปเพื่อยืดอายุกระเทียมสดพร้อมบริโภคในภาชนะบรรจุ

                       3. ชื่อการทดลอง             การพัฒนาสารเคลือบบริโภคได้เพื่อยืดอายุกระเทียมพร้อมบริโภค

                                                   Development Edible Coating for Extend Shelf Life of Ready
                                                   to Eat Garlic

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          นภัสสร  เลียบวัน             นฤเทพ  เวชภิบาล 1/
                                                                  1/
                                                   สุรีย์รัตน์  รักเหลือ 1/
                       5. บทคัดย่อ

                              การศึกษาพัฒนาสารเคลือบบริโภคได้ เพื่อยืดอายุการเก็บกระเทียมพร้อมบริโภค มีวัตถุประสงค์

                       เพื่อศึกษาผลของสารเคลือบบริโภคได้ชนิดต่างๆ ต่อคุณภาพกระเทียมแกะกลีบเพื่อยืดอายุการเก็บ
                       ทำการทดลองที่กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตรในปี 2558

                       โดยนำกระเทียมแกะกลีบเคลือบสารเคลือบบริโภคได้ 4 ชนิด ได้แก่ แอลจิเนต อะการ์ คาร์ราจีแนน และ
                       คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส ที่ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ด้วยวิธีการจุ่ม โดยสารละลาย

                       มีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2.5 นาที ทิ้งให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง 48 ชั่วโมง และนำมาบรรจุถุง
                       พอลิเอทิลีน เก็บรักษาเป็นเวลา 60 วันโดยทดสอบคุณภาพ ได้แก่ ลักษณะปรากฏ การสูญเสียน้ำหนัก

                       ปริมาณฟีนอลิก ปริมาณอัลลิซิน และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH· ทุก 10 วัน เปรียบเทียบ

                       กับกระเทียมไม่เคลือบ พบว่าในระยะการเก็บ 60 วัน การเคลือบอะการ์สามารถชะลอการสูญเสียน้ำหนัก
                       และการเปลี่ยนสีผิวด้านในของกระเทียมแกะกลีบได้ดีที่สุด ขณะที่การเคลือบคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส

                       พบการสูญเสียน้ำหนักสูงที่สุด แต่ไม่แตกต่าง (P≥0.05) จากกระเทียมไม่เคลือบสาร ปริมาณฟีนอลิก

                       ทั้งหมดและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH·ของกระเทียมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05)
                       ตามอายุการเก็บ โดยพบว่ากระเทียมที่สูญเสียน้ำหนักมากที่สุด ได้แก่ กระเทียมเคลือบคาร์บอกซีเมทิล

                       เซลลูโลส และกระเทียมไม่เคลือบสารมีปริมาณฟีนอลิกและความสามารถในการต้านอนุมูลิอิสระ DPPH·

                       สูงที่สุด ขณะที่กระเทียมเคลือบอะการ์ที่สูญเสียน้ำหนักน้อยที่สุด มีปริมาณฟีนอลิก และความสามารถ
                       ในการต้านอนุมูลิอิสระ DPPH·ต่ำที่สุด ปริมาณอัลลิซินในทุกตัวอย่างมีแนวโน้มลดลง แต่ไม่มีความแตกต่าง

                       (P≥0.05) ของแต่ละกรรมวิธี








                       _______________________________________________

                       1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร





                                                          1212
   1274   1275   1276   1277   1278   1279   1280   1281   1282   1283   1284