Page 1302 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1302

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          การทดสอบและถ่ายทอดเทคโนโลยีวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
                                                   พริกแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกคุณภาพภาคตะวันออก

                                                   เฉียงเหนือตอนล่าง
                       3. ชื่อการทดลอง             ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบผสมผสานในฤดูแล้งจังหวัดร้อยเอ็ด

                                                   Testing  Integrated  Chili  Production  During  Dry  Season  in

                                                   Roi-Et Province
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          สุดารัตน์  โชคแสน            นาฏญา  โสภา 1/
                                                                   1/
                                                                     2/
                                                   พเยาว์  พรหมพันธุ์ใจ         อิทธิพล  บ้งพรม 2/
                                                                3/
                                                   สุชาติ  คำอ่อน               มัทนา  วานิชย์ 4/
                       5. บทคัดย่อ

                              การผลิตพริกในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เกษตรกรมักประสบปัญหาเรื่องโรคและแมลง ทำให้มี
                       การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชเป็นหลัก ซึ่งทำให้ผลผลิตมีสารพิษตกค้างเป็นอันตราย

                       ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนั้นจึงได้ทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพริกแบบผสมผสาน เพื่อลด
                       การใช้สารเคมี ดำเนินการในพื้นที่เกษตรกร จังหวัดร้อยเอ็ด ในปี 2556 - 2558 ซึ่งแต่ละปีได้ดำเนินการ

                       ในพื้นที่เป้าหมายที่แตกต่างกัน และประเด็นปัญหาในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน

                              ปี 2556 ดำเนินการในพื้นที่ บ้านโนนสว่าง ตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
                       พบประเด็นปัญหาในพื้นที่ คือ เรื่องโรครากปม จากการทดสอบพบว่าวิธีผสมผสานมีผลผลิต รายได้

                       รายได้สุทธิ และ BCR สูงกว่าวิธีเกษตรกร ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 34.8 เปอร์เซ็นต์ มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น

                       54.6 เปอร์เซ็นต์ พบการเกิดโรครากปมลดลงมีดรรชนีการเกิดโรครากปม 1.5 ส่วนวิธีเกษตรกร 3.5
                              ปี 2557 ดำเนินการในพื้นที่ บ้านคุ้งสะอาด ตำบลนาเลิง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบ

                       ประเด็นปัญหาในพื้นที่ คือ โรครากเน่าโคนเน่า แมลงวันเจาะผลพริก จากการทดสอบ พบว่าวิธีผสมผสาน

                       มีผลผลิต และรายได้สุทธิ สูงกว่าวิธีเกษตรกร มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 15.7 เปอร์เซ็นต์ มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น
                       4.8 เปอร์เซ็นต์ แต่กรรมวิธีเกษตรกรมีค่า BCR สูงกว่า เนื่องจากวิธีผสมผสานมีการให้ปุ๋ยในปริมาณ

                       ที่มากกว่าวิธีเกษตรกร และมีต้นทุนจากการใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่สูงกว่าการใช้สารเคมี
                              ปี 2558 ดำเนินการในพื้นที่บ้านดอนกลอย ตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด พบ

                       ประเด็นปัญหาในพื้นที่ คือ โรครากเน่าโคนเน่า โรคแอนแทรคโนส โรคใบด่าง แมลงวันเจาะผลพริก

                       แมลงหวี่ขาว และหนอนเจาะผล เกษตรกรใช้สารเคมีในปริมาณมาก จากการทดสอบ พบว่าวิธีเกษตรกร
                       มีผลผลิต และรายได้สุทธิสูงกว่าวิธีผสมผสาน แต่วิธีผสมผสานมีค่า BCR สูงกว่าเล็กน้อย และมีผลผลิต

                       ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์
                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด
                       2/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4

                       3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอำนาจเจริญ
                       4/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น         1235
   1297   1298   1299   1300   1301   1302   1303   1304   1305   1306   1307