Page 1306 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1306

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          การทดสอบและถ่ายทอดเทคโนโลยีวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
                                                   พริกแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม

                       2. โครงการวิจัย             การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกคุณภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                                                   ตอนล่าง
                       3. ชื่อการทดลอง             การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบผสมผสานในฤดูฝนจังหวัด

                                                   อุบลราชธานี

                                                   Integrated  Pest  Control  on  Chili  Rainy  Season  in
                                                   Ubonratchathani Province Farmers Field

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          พเยาว์  พรหมพันธุ์ใจ         วลีรัตน์  วรกาญจนบุญ 1/
                                                                     1/
                                                   นวลจันทร์  ศรีสมบัติ         อิทธิพล  บ้งพรม 1/
                                                                     2/
                                                   เสวะภา  สิริโส 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              จังหวัดอุบลราชธานีปลูกพริกในฤดูฝน เพาะกล้า เดือนเมษายน ในถาดหรือถุงพลาสติก ปลูก

                       เดือนพฤษภาคม เก็บเกี่ยว เดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม ในพื้นที่ดอน ดินมีค่า pH เฉลี่ย 4.86 อินทรีวัตถุ
                       0.86 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งมีการสะสมโรคและแมลงศัตรูพริก ได้แก่ โรคแอนแทรคโนส (Colletotrichum sp.)

                       โรคใบหงิกเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรครากและโคนเน่า (Sclerotium rolfsii) เกษตรกรใช้สารเคมีไม่ถูก

                       กับชนิดศัตรูพริก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จึงได้ดำเนินการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกใน
                       ฤดูฝน ที่ อำเภอนาเยีย และอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2556 - 2558 โดยการเตรียม

                       เมล็ดพันธุ์ แช่น้ำอุ่น 55 องศาเซลเซียส นาน 20 นาที แช่เมล็ดพริกในเชื้อไตรโคเดอร์มาสด 250 กรัมต่อน้ำ

                       นาน 24 ชั่วโมง ผึ่งให้หมาดก่อนเพาะในถุงหรือในถาด เตรียมแปลงปลูก ไถตากดินทิ้งไว้ 7 วัน หว่านปูน
                       โดโลไมท์ตามค่าวิเคราะห์ดินก่อนปลูก 2 สัปดาห์ รองพื้นปลูกด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่

                       ผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาไถกลบ ยกแปลงสูง 20 เซนติเมตร ระยะปลูก 75 × 50 เซนติเมตร ป้องกันกำจัด

                       โรคและแมลงด้วยวิธีผสมผสาน เก็บพริกแดงทุก 5 วัน พบว่า การผลิตพริกแบบผสมผสานให้ผลผลิต
                       814 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 20.3 มีต้นทุนไม่แตกต่างกันเพราะการระบาดโรคไวรัส

                       ใบหงิกเหลือง ซึ่งวิธีเกษตรกรขาดทุน ทำให้วิธีผสมผสานมีรายได้สุทธิมากกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 97
                       ในปี 2558 เกษตรกรลดพื้นที่ปลูก เพราะฝนมาช้า การผลิตพริกแบบผสมผสานผลผลิตปลอดภัย

                       94 เปอร์เซ็นต์ วิธีเกษตรกรปลอดภัย 78 เปอร์เซ็นต์ ได้แปลงต้นแบบที่ลดการใช้สารเคมีได้ คือ

                       นายนราธิป สิรพลชัยกุล ที่ อำเภอดอนมดแดง แต่ไม่สามารถส่งออกได้เพราะมีปัญหาการขนส่ง





                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์
                                                          1239
   1301   1302   1303   1304   1305   1306   1307   1308   1309   1310   1311