Page 1365 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1365
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาสตรอเบอรี่
3. ชื่อการทดลอง อิทธิพลของกรดจิบเบอเรลลิค (GA3) ที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณไหล
ของสตรอเบอรี่
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน อนุ สุวรรณโฉม ฉัตต์นภา ข่มอาวุธ 1/
สมคิด รัตนบุรี 1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาอิทธิพลของกรดจิบเบอเรลริค (GA ) ที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณไหลของสตรอเบอรี่
3
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกรดจิบเบอเรลริค (GA ) และปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการ
3
เจริญเติบโต และเพิ่มปริมาณไหลของสตรอเบอรี่ พันธุ์พระราชทาน 80 โดยทำการทดลองที่ศูนย์วิจัย
เกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งในปีแรกได้ดำเนินการวางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete
Block Design; RCBD หรือ RBD) จำนวน 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ไม่เด็ดดอก ไม่พ่น GA
3
(Control) กรรมวิธีที่ 2 ไม่เด็ดดอก พ่น GA 50 ppm หลังปลูก 30 และ 60 วัน กรรมวิธีที่ 3 เด็ดดอก
3
พ่น GA 50 ppm หลังปลูก 30 และ 60 วัน กรรมวิธีที่ 4 ไม่เด็ดดอก พ่น GA 75 ppm หลังปลูก 30
3
3
และ 60 วัน และกรรมวิธีที่ 5 เด็ดดอก พ่น GA 75 ppm หลังปลูก 30 และ 60 วัน โดยมีจำนวนแปลง
3
การทดลองทั้งหมด 20 แปลง คือกรรมวิธีที่ 1 ถึงกรรมวิธีที่ 5 ในการเก็บข้อมูลจะเก็บทั้งหมดจำนวน 5 ครั้ง
โดยทิ้งช่วงระยะเวลาในการเก็บข้อมูลคือ 2 อาทิตย์เก็บ 1 ครั้ง เมื่อครบ 5 ครั้ง จึงได้นำมาทำการ
วิเคราะห์ผล จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปริมาณสาร GA ไม่มีอิทธิพลต่อความกว้างใบ ความยาวก้านใบ
3
และความยาวไหลของสตรอเบอรี่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยกรรมวิธีที่ให้ความกว้างใบ ความยาวก้านใบ
และความยาวไหลมากที่สุด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 2 เท่ากับ 17.75 เซนติเมตร กรรมวิธีที่ 2 เท่ากับ 14.83
เซนติเมตร และกรรมวิธี 5 เท่ากับ 72.37 เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณสาร GA มีอิทธิพลต่อ
3
จำนวนต้นต่อกอ อัตราการเกิดไหลต่อต้น และอัตราการเกิดไหลสายต่อต้นของสตรอเบอรี่ ที่ระดับนัยสำคัญ
0.05 โดยกรรมวิธีที่ให้จำนวนต้นต่อกอ อัตราการเกิดไหลต่อต้น และอัตราการเกิดไหลสายต่อต้นมากที่สุด
ได้แก่ กรรมวิธีที่ 5 เท่ากับ 5.50 11.99 และ 10.70 ตามลำดับ โดยที่จำนวนต้นต่อกอ และอัตราการเกิด
ไหลต่อต้น มีกรรมวิธีที่ 5 ที่แตกต่างไปจากกรรมวิธีอื่นๆ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และอัตราการเกิด
ไหลสายต่อต้น มีกรรมวิธีที่ 1, 2, 4 มีอัตราการเกิดไหลสายต่อต้นเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน กรรมวิธีที่ 2, 3, 4
มีอัตราการเกิดไหลสายต่อต้นเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน และในขณะที่กรรมวิธีที่ 5 มีอัตราการเกิดไหลสายต่อต้น
เฉลี่ยแตกต่างจากกรรมวิธีอื่นๆ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
และในปีที่สองได้ดำเนินการวางแผนการทดลองแบบ 3 × 2 Factorial in RCB จำนวน 6 กรรมวิธี
4 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยที่ 1 การพ่นกรดจิบเบอเรลริค (GA ) ที่ความเข้มข้น 50 และ 75 ppm.
3
และไม่พ่นกรดจิบเบอเรลริค (GA ) ปัจจัยที่ 2 การเด็ดดอก และไม่เด็ดดอกสตรอเบอรี่ ผลจากการทดลอง
3
_____________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
1298