Page 1371 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1371
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตมะขามป้อมอย่างมีคุณภาพ
3. ชื่อการทดลอง คัดเลือกสายต้นมะขามป้อมพันธุ์ดีที่มีผลใหญ่และสารสำคัญสูงใน
ภาคเหนือตอนบน
Clonal Selection of Indian Gooseberry for Large Size and
High Active Ingredient in the Upper North Area
4. คณะผู้ดำเนินงาน วิภาดา แสงสร้อย ประนอม ใจอ้าย 1/
1/
1/
สุทธินี เจริญคิด คณิศร มนุษย์สม 1/
สากล มีสุข 1/
5. บทคัดย่อ
คัดเลือกสายต้นมะขามป้อมพันธุ์ดีในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในปี 2555 - 2558 มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษามะขามป้อมพันธุ์ดีที่มีผลใหญ่และมีปริมาณสารสำคัญสูงสำหรับใช้คัดเลือกพันธุ์ โดยสำรวจ
แหล่งปลูกมะขามป้อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน แบบ Clonal Selection ได้แก่ จังหวัดแพร่ พะเยา น่าน
เชียงใหม่ ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ได้มะขามป้อมจำนวน 24 สายต้น นำกิ่งพันธุ์มาขยายเป็นต้นแม่พันธุ์ได้
จำนวน 69 ต้น และปลูกในแปลงทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
พื้นที่ 2 ไร่ จำนวน 122 ต้น เก็บตัวอย่างผลมะขามป้อมไปวิเคราะห์สารสำคัญ ได้แก่ วิตามินซี สารประกอบ
ฟีนอลิค และค่าดัชนีการต้านสารอนุมูลอิสระ บันทึกข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ ได้มะขามป้อมที่มีลักษณะดี
มีผลใหญ่จำนวน 9 สายต้น โดยสายต้น ชม.06 มีผลขนาดใหญ่และเนื้อหนามากที่สุด มีเส้นผ่าศูนย์กลางผล
3.25 เซนติเมตร เนื้อหนา 1.08 เซนติเมตร รองลงมาคือ พร.09 นน.01 พร.06 พร.03 พย.03 พย.01
พย.02 และ มส.02 ได้ต้นมะขามป้อมที่มีสารสำคัญสูง จำนวน 11 สายต้น โดยต้นที่มีปริมาณสารประกอบ
ฟีนอลิคสูงสุดคือ สายต้น มส.01 50.96 mg gallic acid/g sample ต้นที่มีวิตามินซีสูงสุดคือ สายต้น
มส.01 และ มส. 02 ซึ่งเท่ากันคือ 590 mg ascorbic acid/100 g sample และต้นที่มีค่าดัชนีสารต้าน
อนุมูลอิสระสูงที่สุดคือ สายต้น พร.01 มีค่าเท่ากับ 7.83
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ได้มะขามป้อมพันธุ์ดีที่มีผลใหญ่และสารสำคัญสูง สำหรับแนะนำสู่เกษตรกรปลูกเชิงการค้า
2. ได้มะขามป้อมเป็นพืชทางเลือกใหม่แก่เกษตรกร ซึ่งเป็นพืชทนแล้งและทนทานต่อสภาพ
ภูมิอากาศแปรปรวน ในปัจจุบันตลาดยังต้องการวัตถุดิบอีกจำนวนมากเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยาและ
อาหารเสริมสุขภาพ
___________________________________________
1/
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่
1304