Page 1382 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1382
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
2. โครงการวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์มะไฟจีนที่มีคุณภาพดีสม่ำเสมอ
3. ชื่อการทดลอง ทดสอบเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์มะไฟจีน
Wamper Products Technology Development
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน พรรณผกา รัตนโกศล พันธุ์ศักดิ์ แก่นหอม 2/
2/
สุระพงษ์ รัตนโกศล ปริศนา หาญวิริยะพันธุ์ 3/
2/
ทวีพงษ์ ณ น่าน วิลาสลักษณ์ ว่องไว 3/
5. บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภันณ์มะไฟจีนที่เป็น
มาตรฐานและคุณภาพดี โดยศึกษาจากกลุ่มเกษตรกรแปรรูปมะไฟจีน จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านกอก
บ้านแซ่พลาง และบ้านหนองรัง ในพื้นที่จังหวัดน่าน พบว่าผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของ
ผลิตภัณฑ์มะไฟจีนทั้ง 3 หมู่บ้าน ไม่แตกต่างกันเมื่อผ่านการเก็บรักษาอย่างน้อย 2 ครั้ง คือระยะเวลา
6 เดือน และ 12 เดือน การเก็บข้อมูลจากการเสวนากลุ่ม ศึกษาดูงานกลุ่มที่เป็นตัวอย่างที่ดีและหาแนวทาง
การพัฒนาผลิตภันณ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และทำการ
วิเคราะห์คุณภาพ คุณค่าทางอาหาร ประเมินการยอมรับผลิตภัณฑ์ และการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่าง
การเก็บรักษา
ผลการศึกษาพบว่าปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญได้แก่ ปัญหาการเก็บ และตากผลผลิตในช่วงฤดูฝน
ซึ่งเป็นฤดูกาลของมะไฟจีนมีวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เสียหาย ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์มะไฟจีนดองเกิดสีคล้ำ
เมื่อเก็บไว้นานเกิน 5 เดือน การทดสอบการแปรรูปผลิตภันณ์มะไฟจีนดองเค็มเพื่อหาแนวทางพัฒนา
คุณภาพผลิตภัณฑ์ใหม่จากมะไฟจีน พบว่ากลุ่มเกษตรกรไม่ยอมรับทั้งคุณภาพของมะไฟจีนดองเค็ม
จากการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ทั้ง สี กลิ่น รสชาติ และการยอมรับโดยรวม และจากการ
สังเกตของผู้วิจัยพบว่า เกิดกลิ่นหมักและผลิตภัณฑ์มีลักษณะเหนียวแข็งไม่สามารถนำไปทดสอบ
ตามกรรมวิธีได้
สำหรับผลิตภัณฑ์เชี่อมแห้งมีการแก้ไขโดยการทดสอบเครื่องลดความชื้นมะไฟจีนเชื่อมให้เป็น
มะไฟจีนเชื่อมแห้ง ซึ่งเดิมทีกลุ่มผู้แปรรูปใช้วิธีทำแห้งด้วยการตากแดดในโรงตาก เมื่อพินิจด้วยสายตา
ของผู้ที่มีความชำนาญในกลุ่มแปรรูป มีสีที่ดูสดกว่าการตากแดด ความนิ่มเนื้อและรสชาติไม่แตกต่าง
กับการตากแดด ทำให้กลุ่มผู้ผลิตมะไฟจีนเชื่อมแห้งของกลุ่มเกษตรกรบ้านกอก ตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง
จังหวัดน่าน ให้การยอมรับในการใช้เครื่องลดความชื้นแบบตู้สี่เหลี่ยมว่าเหมาะสมสำหรับใช้งานในการ
ลดความชื้นผลิตภัณฑ์มะไฟจีนเชื่อมแห้งได้เป็นอย่างดี
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน
3/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
1315