Page 1454 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1454
ในปี 2557 - 2558 ผลการศึกษาประสิทธิภาพโรคผลเน่าของแก้วมังกร ที่อำเภอนายายอาม
จังหวัดจันทบุรี พบว่าเมื่อพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช 7 ครั้ง พบว่าสารป้องกันกำจัดโรคพืช
azoxystrobin + difenoconazole มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคน้อยที่สุดคือ 60.56 รองลงมา ได้แก่
propiconazole + difenoconazole, mancozeb และ procloraz โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ
61.88, 64.09 และ 64.14 ตามลำดับ สำหรับแปลงแก้วมังกรที่อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี พบว่า
สารป้องกันกำจัดโรคพืช azoxystrobin + difenoconazole มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคน้อยที่สุดคือ 18.08
รองลงมา ได้แก่ propiconazole + difenoconazole, mancozeb และ procloraz โดยมีเปอร์เซ็นต์
การเกิดโรคเท่ากับ 28.20, 30.40 และ 32.86 ตามลำดับ สรุปการป้องกันกำจัดโรคลำต้นจุดสีน้ำตาล
และผลเน่าของแก้วมังกร หลังจากการเก็บผลผลิตและตัดแต่งกิ่งแล้ว ให้พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช
copper oxychloride จากนั้นให้พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช azoxystrobin + difenoconazole หรือ
propiconazole + difenoconazole หรือ procloraz หรือ mancozeb ทุก 7 วัน จำนวน 4 ครั้ง
และพ่นอีก 3 ครั้ง ช่วงดอกบาน ห่างกัน 7 วัน
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ได้สารป้องกันกำจัดที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคลำต้นจุดสีน้ำตาลและผลเน่าของแก้วมังกร
เพื่อแนะนำให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกร
2. สามารถเผยแพร่งานวิจัยในรายงานประจำปีของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการ
เกษตร รวมถึงงานประชุมวิชาการระดับชาติ หรือนานาชาติ
1387