Page 1455 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1455

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออก
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสำรองในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษาวิจัยการจัดทำแปลงสำรองในสภาพแปลงปลูก

                                                   A Study on Cultivate of Malva Nut (Scaphium macropodum)
                                                   in Farm Condition

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          กมลภัทร  ศิริพงษ์            ชูชาติ  วัฒนวรรณ 2/
                                                                  1/
                                                   ชลธิชา  กลิ่นเกษร 1/
                       5. บทคัดย่อ

                              การศึกษาวิจัยการจัดทำแปลงสำรองในสภาพแปลงปลูก เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและลักษณะ

                       ภายนอกที่แสดงออกของต้นและใบสำรอง (Phenotype) จากแหล่งพันธุ์ต่างๆ ในสภาพแปลงปลูก
                       ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 ถึงกันยายน 2558

                       โดยคัดเลือกสายต้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตคุณภาพดีจากแหล่งพันธุ์ 4 แห่ง ได้แก่ 1) พื้นที่โครงการอนุรักษ์
                       พันธุกรรมพืชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกวิทยาเขตจันทบุรี

                       จังหวัดจันทบุรี 2) พื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 3) พื้นที่เขตรักษาพันธุ์
                       สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี และ 4) พื้นที่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชธานี

                       มาขยายพันธุ์โดยการเสียบยอดบนต้นตอเพาะเมล็ด แล้วนำไปปลูกในแปลงโดยใช้ระยะปลูก 8 × 8 เมตร

                       เมื่อศึกษาการเจริญเติบโตและพัฒนาการในระยะ 3 ปี พบว่า สายต้นสำรองจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
                       ภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชธานี มีแนวโน้มการเจริญเติบโตมากที่สุด ทั้งในด้านขนาดเส้นรอบวงลำต้น

                       เท่ากับ 14.7 เซนติเมตร ความสูง เท่ากับ 180 เซนติเมตร และทรงพุ่ม เท่ากับ 95.3 เซนติเมตร รองลงมา

                       ได้แก่ สายต้นสำรองจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี และจาก
                       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก อำเภอคิชกูฏ จังหวัดจันทบุรี ส่วนสายต้นสำรองจากพื้นที่

                       เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี มีอายุต้นน้อยกว่าสายต้นอื่นๆ 1 ปี จึงแสดงอัตราการ

                       เจริญเติบโตน้อยที่สุด ทั้งนี้ แต่ละสายต้นแสดงลักษณะของต้นและใบเช่นเดียวกันคือ ลำต้นสีน้ำตาลแดง
                       และใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน หรือเขียวอมน้ำตาล มีหูใบรูปลิ่มที่โคนก้านใบ ใบเปลี่ยนเป็นสีเขียวและหูใบหลุดร่วง

                       เมื่อใบพัฒนามากขึ้น ที่ผิวของยอดอ่อน หูใบ และก้านใบอ่อนมีขนสั้นสีน้ำตาลอมชมพูคล้ายกำมะหยี่
                       ปกคลุม เมื่อใบอ่อนพัฒนามากขึ้นและหูใบหลุด ขนดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบพัฒนาเต็มที่มีสีเขียว

                       รูปไข่แกมใบหอก มีทั้งโคนใบมนและโคนใบแหลม และยังพบใบรูปสามเหลี่ยมโคนใบตัดที่อาจพบได้ในต้น

                       เดียวกัน





                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี
                       2/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
                                                          1388
   1450   1451   1452   1453   1454   1455   1456   1457   1458   1459   1460