Page 1530 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1530
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชในพื้นที่ใช้น้ำฝน
3. ชื่อการทดลอง การพัฒนาระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่ระดับน้ำใต้ดินตื้น
เขตใช้น้ำฝนจังหวัดสุรินทร์
Development a Cropping Pattern after Rice for Paddy Field
in an Unconfined Groundwater Zone of Surin Province
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน จิรัสชญาพร รณเรืองฤทธิ์ ศรัญญู ปัญโญ 1/
ดวงเด่น สายพันธ์ นวลจันทร์ ศรีสมบัติ 1/
1/
5. บทคัดย่อ
ดำเนินการทดสอบเทคโนโลยีเพื่อให้ได้รูปแบบระบบการปลูกพืชหลังนาในพื้นที่ระดับน้ำใต้ดินตื้น
เขตใช้น้ำฝน ที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ในปี 2557 ได้ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่บ้านยางสว่าง
ตำบลยางสว่าง อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมงานทดสอบการพัฒนารูปแบบฯ
ดังกล่าว จำนวน 5 ราย จากการวิเคราะห์พื้นที่พบว่าเกษตรกรมีกิจกรรมการทำนาเป็นหลัก และจากเวที
สัมมนาเกษตรกรพบว่าปัญหาหลักคือ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการปลูกพืชหลังนา ในขณะที่พื้นที่ดังกล่าวมี
ปัจจัยทางกายภาพ คือระดับน้ำใต้ดินที่ตื้นซึ่งเอื้ออำนวยต่อการปลูกพืชหลังนาในฤดูแล้ง ทำให้เกษตรกร
ขาดรายได้จากภาคการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง จึงวางแผนร่วมกับเกษตรกรที่สมัครใจร่วมพัฒนาระบบปลูกพืช
อย่างยั่งยืนเขตพื้นที่น้ำใต้ดินตื้น โดยในปีเพาะปลูก 2556/2557 ดำเนินการทดสอบระบบการปลูกพืช
3 ระบบ คือ 1) ปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว 2) ข้าว – ข้าวโพด 3) ข้าว – ถั่วลิสง จากการทดลองพบว่า
ประสบปัญหาฝนหลงฤดู ข้าวโพดเสียหายทั้งหมด ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ ส่วนถั่วลิสงเก็บผลผลิตได้
จำนวน 2 ราย ได้ผลผลิตน้ำหนักสดเฉลี่ย 296 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 4,250 บาทต่อไร่
ในปี 2557/2558 จึงได้วางแผนทำการทดสอบซ้ำระบบเดิมคือ 1) ปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว 2) ข้าว – ข้าวโพด
3) ข้าว – ถั่วลิสง มีเกษตรกรร่วมทดสอบ จำนวน 6 ราย จากการทดลองพบว่า เกษตรกรปลูกข้าวอย่างเดียว
ให้ผลผลิตเฉลี่ย 596 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้สุทธิ 4,987 บาทต่อไร่ ส่วนเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักสดหลังนา
ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,881 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยสุทธิ 9,817 บาทต่อไร่ ในขณะที่การปลูก
ถั่วลิสงหลังนา ให้ผลผลิตน้ำหนักสดเฉลี่ย 372 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยสุทธิ 8,057 บาทต่อไร่
จากการทดลองพบว่า รูปแบบระบบการปลูกพืชทั้ง 2 รูปแบบคือ 1) ข้าว – ข้าวโพด และ
2) ข้าว – ถั่วลิสง เป็นระบบการปลูกพืชที่สามารถพัฒนาขึ้นได้โดยสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่มีศักยภาพ
ในการปลูกพืชหลังนา นับเป็นทางเลือกเพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกร และเพิ่มความหลากหลายทาง
ชีวภาพ สร้างความยั่งยืนขึ้นในระบบดังกล่าว แต่ระบบการปลูก ข้าว – ข้าวโพด เป็นระบบที่เกษตรกร
เลือกใช้ในการเพาะปลูก เนื่องจากเป็นระบบที่เข้ากับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมในสภาพพื้นที่
ดังกล่าวมากที่สุด
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์
1463