Page 1534 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1534

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ใช้น้ำฝน

                       3. ชื่อการทดลอง             การวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในรูปแบบเกษตร

                                                   ผสมผสานในพื้นที่ไร่เขตใช้น้ำฝน จังหวัดร้อยเอ็ด
                                                                   1/
                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           สุดารัตน์  โชคแสน            นาฏญา  โสภา 1/
                                                   ธนวัฒน์  เสนเผือก            สุชาติ  คำอ่อน 2/
                                                                   1/
                                                   มัทนา  วานิชย์ 3/
                       5. บทคัดย่อ

                              การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการปลูกพืชในรูปแบบเกษตรผสมผสานที่เหมาะสม

                       เขตใช้น้ำฝนจังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการตั้งแต่ปี 2557 - 2558 ในแปลงเกษตร อำเภอโพนทอง
                       จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 5 รายๆ ละ 2 ไร่ ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ วิธีตรวจสอบ (ปลูกมันสำปะหลัง

                       เป็นพืชเดี่ยว) และวิธีทดสอบ (ปลูกมันสำปะหลัง + ข้าวโพด/ถั่วลิสง) ผลการดำเนินงาน ปี 2557 พบว่า
                       ระบบปลูกพืชในกรรมวิธีตรวจสอบมีรายได้สุทธิ 3,638 บาทต่อไร่ มีค่า BCR 2.14 ส่วนกรรมวิธีทดสอบ

                       มีรายได้สุทธิ 3,154 บาทต่อไร่ มีค่า BCR 1.8 จะเห็นได้ว่ากรรมวิธีทดสอบมีต้นทุนติดลบจากการผลิต
                       ข้าวโพดข้าวเหนียว จึงทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ต่ำกว่าวิธีตรวจสอบที่ปลูกมันสำปะหลังเป็น

                       พืชเดี่ยว ในปี 2558 ได้ดำเนินการทดสอบซ้ำในพื้นที่เดิม พบว่าระบบปลูกพืชในกรรมวิธีตรวจสอบมีรายได้

                       สุทธิ 5,556 บาทต่อไร่ มีค่า BCR 2.85 ส่วนกรรมวิธีทดสอบมีรายได้สุทธิ 4,618 บาทต่อไร่ มีค่า BCR 2.59
                       ซึ่งให้ผลเช่นเดียวกันกับผลการทดลองปี 2557 คือ กรรมวิธีตรวจสอบมีผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์

                       สูงกว่าวิธีทดสอบ เมื่อนำข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินงาน 2 ปี (2557 - 2558) มาวิเคราะห์

                       พบว่าระบบการปลูกพืชเดี่ยว (วิธีตรวจสอบ) มีรายได้สุทธิ 4,597 บาทต่อไร่ มีค่า BCR 2.50 ส่วนระบบ
                       ปลูกพืชผสมผสาน (วิธีทดสอบ) รายได้สุทธิ 3,886 บาทต่อไร่ มีค่า BCR 2.20 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าระบบ

                       ปลูกพืชเดี่ยวมีรายได้สุทธิและ BCR สูงกว่าวิธีปลูกพืชผสมผสาน ดังนั้นจากการทดลองระบบการปลูกพืช

                       ที่เหมาะสมในเขตอาศัยน้ำฝนสภาพไร่ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เหมาะสมคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด คือ
                       การปลูกมันสำปะหลัง

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                               ขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมาย












                       __________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอำนาจเจริญ
                        ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
                       3/                                 1467
   1529   1530   1531   1532   1533   1534   1535   1536   1537   1538   1539