Page 1552 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1552
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. โครงการนี้ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร โดยทำให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้
ที่เพิ่มขึ้น มีความมั่นคงของรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและปัจจุบันเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ
ได้มีความสนใจ มีความกระตือรือร้นที่จะปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน เนื่องจากได้เห็นถึงความสำคัญ
และการมีประโยชน์ของสวนปาล์มน้ำมันและการจัดการตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
2. เกษตรกรได้รับเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน การจัดการธาตุอาหารและการเก็บเกี่ยว
ได้ถูกต้องเหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรในพื้นที่ โดยเกษตรกร
มีผลผลิตรายได้เฉลี่ย และเปอร์เซ็นต์น้ำมันเพิ่มขึ้น
3. ได้เทคโนโลยีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตที่ดี
ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยของเกษตรกรลดลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน
ทั้งระบบ มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับปุ๋ย
4. เกษตรกรเข้าร่วมโครงการในการขยายผลการทดลองในปี พ.ศ. 2557 จำนวน 79 ราย 136
แปลง โดยมีพื้นที่รวม 2,858 ไร่ สามารถลดต้นทุนในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันทั้งระบบได้ 1,387.85
บาทต่อไร่ต่อปี โดยเมื่อพิจารณาในภาพรวมทั้งโครงการแล้วสามารถลดต้นทุนได้ 3,966,475.30 บาทต่อปี
และเมื่อพิจารณารายได้สุทธิแล้ว พบว่า เพิ่มขึ้น 2,199.37 บาทต่อไร่ต่อปี โดยเมื่อพิจารณาในภาพรวม
ทั้งโครงการ เกษตรกรในพื้นที่ทั้งหมดมีรายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น 6,285,766.46 บาทต่อปี
5. เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการรวมกลุ่มอย่างน้อย 1 กลุ่ม
ในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างเข้มแข็งและใส่ใจต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน
ทั้งห่วงโซ่การผลิต (supply chain) มีความยั่งยืนและส่งเสริมต่อการรักษาสภาพนิเวศน์
6. ได้รูปแบบการทำอาชีพเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ
และสังคมของเกษตรกร พื้นที่ภาคใต้ตอนบน ซึ่งทำให้สภาพความเป็นอยู่ด้านต่างๆ ของราษฎรในพื้นที่
ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
7. กรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร และ เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร
เป็นที่ยอมรับจากเกษตรกรในพื้นที่อย่างสูงมาก
1485