Page 1554 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1554

ผลผลิตปาล์มน้ำมันในแปลงที่มีการปลูกผักเหรียงเป็นพืชแซม พบว่า มีจำนวนทะลายปาล์มน้ำมันเฉลี่ย

                       21.8 ทะลาย น้ำหนักเฉลี่ย 166.1 กิโลกรัม ส่วนผลผลิตปาล์มน้ำมันในแปลงที่ไม่มีการปลูกผักเหรียงเป็น

                       พืชแซม พบว่า มีจำนวนทะลายปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 19.3 ทะลาย น้ำหนักเฉลี่ย 181.6 กิโลกรัม ผลผลิต
                       ปาล์มน้ำมันในแปลงที่มีการปลูกผักกูดเป็นพืชแซม พบว่า มีจำนวนทะลายปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 13.0 ทะลาย

                       น้ำหนักเฉลี่ย 122.2 กิโลกรัม ส่วนผลผลิตปาล์มน้ำมันในแปลงที่ไม่มีการปลูกผักกูดเป็นพืชแซม พบว่า
                       มีจำนวนทะลายปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 19.3 ทะลาย น้ำหนักเฉลี่ย 200.5 กิโลกรัม

                              ผลการดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงแพะในสวนปาล์มน้ำมัน ของนายพัทราวุธ ศรีสุข บ้านเลขที่ 119

                       หมู่ 6 ตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงกันยายน 2558 โดย
                       เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจำนวน 13 ไร่ เลี้ยงแพะจำนวน 43 ตัว และปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 55 ตัว

                       โดยเลี้ยงแบบตอนกลางวันเลี้ยงในคอกและปล่อยให้กินหญ้าตอนเย็นประมาณ 2 - 3 ชั่วโมงของทุกวัน

                       อาหารแพะที่ใช้เลี้ยง ได้แก่ อาหารข้น หยวกกล้วย หญ้า ใบกระถินและทางปาล์มน้ำมัน สำหรับทางใบ
                       ปาล์มน้ำมัน เกษตรกรจะตัดทางใบปาล์มน้ำมันมาให้แพะกินทุกวันจนกระทั่งหมด แล้วนำเศษเหลือเข้า

                       เครื่องหั่นย่อยและนำไปเป็นปุ๋ยให้กับต้นปาล์มน้ำมัน จากการดำเนินงาน เกษตรกรให้อาหารข้นแก่แพะ
                       เฉลี่ย 3.0 กิโลกรัมต่อวัน ตัดทางปาล์มน้ำมันให้แพะ เฉลี่ย 11.8 ทางต่อวัน ปล่อยให้แพะกินหญ้าในสวน

                       ปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 3.0 ชั่วโมงต่อวัน และตัดหญ้าให้กินเฉลี่ย 32.5 กิโลกรัมต่อวัน

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                               เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาของจังหวัดพัทลุง สามารถนำระบบ

                       การผลิตพืชภายใต้ระบบเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้สำหรับการนำทางปาล์มน้ำมัน
                       มาเลี้ยงแพะเพื่อลดต้นทุนค่าอาหารและการปลูกพืชแซมปาล์มน้ำมันได้













































                                                          1487
   1549   1550   1551   1552   1553   1554   1555   1556   1557   1558   1559