Page 1590 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1590
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชลประทาน
3. ชื่อการทดลอง การพัฒนาระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพนาจังหวัดอุดรธานี
1/
4.คณะผู้ดำเนินงาน อมฤต วงษ์ศิริ จตุรภัทร ถามูลเรศ 1/
5. บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพนา จังหวัดอุดรธานี เป็นการปลูกหลังจาก
การเก็บเกี่ยวข้าวนาปี การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในนาข้าวเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่เปลี่ยนระบบ
จากการปลูกข้าว - ข้าวนาปรัง เป็น ข้าว - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากข้าวโพดใช้น้ำน้อยกว่าข้าวนาปรัง
และข้าวนาปรังราคาตกต่ำ ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนระบบการปลูกพืชและเกษตรกรยังขาดความรู้ในการ
ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในนา ดำเนินการในปี 2557 ถึง 2558 เป็นเวลา 2 ปี โดยใช้กระบวนการเกษตรกร
มีส่วนร่วม ในปี 2557 มีเกษตรกรร่วมดำเนินการทดสอบ 5 ราย ดำเนินการทดลองในไร่เกษตรกร
ที่อำเภอหนองวัวซอ และอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี กรรมวิธีทดสอบมี 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีทดสอบ
ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดยการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการใช้ระยะปลูกที่เหมาะสม
และกรรมวิธีของเกษตรกร ใส่ปุ๋ยและปลูกตามกรรมวิธีปฏิบัติของเกษตรกร จากผลการทดสอบ กรรมวิธี
ทดสอบของกรมวิชาการเกษตรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและระยะปลูกที่เหมาะสม ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวโพด
เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 600.22 - 866.43 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนต้นเฉลี่ยต่อไร่ อยู่ระหว่าง 4312 - 10,800 ต้น
ค่า BCR อยู่ระหว่าง 1.58 - 2.52 และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 60.22 - 85.53 เปอร์เซ็นต์
กรรมวิธีของเกษตรกรที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 541.78 - 821.97 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนต้นเฉลี่ยต่อไร่
อยู่ระหว่าง 4,451 - 10,254 ต้น ค่า BCR อยู่ระหว่าง 1.65 - 2.71 และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะอยู่ระหว่าง
58.96 - 81.45 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ผลผลิตเมล็ดข้าวโพดกรรมวิธีทดสอบสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรถึง 46.85
กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อวิเคราะห์อัตราส่วนต่อการลงทุน กรรมวิธีของเกษตรกรมีค่า BCR สูงกว่ากรรมวิธีทดสอบ
แต่ทั้งสองกรรมวิธีมีค่า BCR > 1 เมื่อลงทุนแล้วจะไม่ขาดทุนและการพัฒนาระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ในสภาพนา จังหวัดอุดรธานี ปี 2558 ใช้กระบวนการเกษตรกรมีส่วนร่วม มีเกษตรกรร่วมดำเนินการทดลอง
5 ราย ดำเนินการทดลองในไร่เกษตรกรที่อำเภอหนองวัวซอ และอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็น
พื้นที่เขตชลประทานของเขื่อนห้วยหลวง เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกรหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี
จากผลการทดสอบ การใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรและใช้ระยะปลูกที่เหมาะสมสามารถ
เก็บข้อมูลได้ 3 ราย พบว่า ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวโพดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 841 - 1,249 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน
ต้นเฉลี่ยต่อไร่ อยู่ระหว่าง 4,118 - 5,588 ต้น ค่า BCR อยู่ระหว่าง 1.86 - 2.71 และเปอร์เซ็นต์การ
กะเทาะเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 80.61 - 81.72 เปอร์เซ็นต์ จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในนาหลังเก็บเกี่ยวแล้ว
มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 2,740 - 5,618 บาทต่อไร่ ในปี 2558
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุดรธานี
1523